Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...
Powered by Blogger.
RSS

โรคพยาธิหนอนหัวใจสุนัข อีกหนึ่งโรคอันตรายร้ายแรงสำหรับน้องหมา

วันนี้มาทำความรู้จักกับอีกหนึ่งโรคร้ายที่คอยทำร้ายน้องหมาของเรากัน ก็คือ โรคพยาธิหนอนหัวใจครับ ซึ่งพยาธิหนอนหัวใจนี้เป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพร้ายแรงคือ ก่อเกิดหัวใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

โรคพยาธิหนอนหัวใจเกิดจากเชื้อ Dirofilaria immitis เป็นโรคที่พบได้บ่อยในสุนัข พบได้บ้างในแมว แต่พบได้ยากในคน มียุงเป็นพาหะ การติดเชื้อเกิดขึ้นได้เนื่องจากยุงกินเลือดสุนัขที่มีตัวอ่อนของเชื้อนี้อยู่ แล้วตัวอ่อนจะพัฒนาในตัวยุง
จากนั้นจะปล่อยตัวอ่อนระยะติดเชื้อให้สุนัขตัวอื่นที่ยุงกินเลือด พยาธิตัวแก่อาศัยอยู่ในหัวใจห้องล่างขวา หลอดเลือดแดงที่นำเลือดไปสู่ปอด และหลอดเลือดดำใหญ่ การที่มักจะพบพยาธินี้อยู่ในหัวใจ จึงเรียกว่า พยาธิหนอนหัวใจ (heart worm)
พยาธิหนอนหัวใจพบได้ทั่วไปในเขตที่มีอากาศอบอุ่นและแถบเมืองร้อนทั่วโลก รวมทั้งรวมทั้งในประเทศไทยด้วย ถ้าเลี้ยงสุนัขในบริเวณที่มีการแพร่ระบาดของโรคนี้สูง สุนัขก็มีโอกาสป่วยด้วยโรคนี้ได้มาก

ลักษณะและขนาด
ตัวแก่ : สามารถดูได้ด้วยตาเปล่า รูปร่าง ยาวเรียว มีขนาดยาว 20-30 เซนติเมตร หางของตัวแก่พยาธินหนอนหัวใจตัวผู้มีลักษณะเป็นขด
ตัวอ่อน : อาศัยอยู่ในเลือด ต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ มีขนาดยาว 307-332 ไมโครเมตร และกว้าง 6.8 ไมโครเมตร ทางด้านหน้าจะยาวเรียว แต่ทางด้านหลังจะทู่

วงจรชีวิต
ตัวแก่ของพยาธิหนอนหัวใจอาศัยอยู่ในหัวใจและหลอด เลือดใกล้เคียง ตัวเมียจะปล่อยตัวอ่อนเข้าไปในกระแสเลือด ซึ่งจะถูกกินโดยยุงตัวเมียในขณะที่กินเลือดสุนัขที่ติดเชื้อนี้ แล้วตัวอ่อนจะพัฒนาในตัวยุงกลายเป็นตัวอ่อนระยะติดเชื้อโดยใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ และไปอยู่ที่ปากของยุง
เมื่อยุงที่มีตัวอ่อนพยาธิหนอนหัวใจกิน เลือดสุนัขที่ปกติก็จะปล่อยตัวอ่อนให้กับสุนัขนั้น ตัวอ่อนจะเคลื่อนที่จากเนื้อเยื่อชั้นใต้ผิวหนังของสุนัข และมีการพัฒนา 2 ครั้งจนกลายเป็นตัวแก่ระยะแรกในหัวใจและหลอดเลือดสู่ปอดภายในเวลา 3-4 เดือน และในระยะ 6 เดือน จะพบตัวอ่อนในกระแสเลือด เมื่อยุงกัดสุนัขที่มีเชื้อพยาธิหนอนหัวใจจะได้รับตัวอ่อนและมีการพัฒนาใน ยุง เมื่อยุงตัวนั้นไปกัดสุนัขปกติตัวอื่นก็ทำให้ติดเขื้อพยาธิหนอนหัวใจได้ ตัวแก่ของพยาธิหนอนหัวใจมีชีวิตอยู่ได้หลายปีและสามารถปล่อยตัวอ่อนได้นาน ถึง 5 ปี

พยาธิสภาพ
ขึ้นอยู่กับจำนวนของตัวแก่ของพยาธิหนอนหัวใจ ถ้ามีตัวแก่จำนวนน้อยก็จะไม่พบอาการป่วย แต่ถ้ามีตัวแก่จำนวนมากทำให้เกิดปัญหาของระบบหมุนเวียนโลหิตได้ ตั้งแต่ขัดขวางการไหลเวียนชองเลือดจนถึงขั้นเกิดภาวะหัวใจวายได้ ถ้ามีพยาธิหนอนตัวแก่จำนวนมากยังทำให้ผนังกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้ อาจจะเนื่องจากสิ่งขับถ่ายจากตัวพยาธิ นอกจากนี้พยาธิตัวแก่ที่ตายจะอุดตันหลอดเลือดที่นำเลือดไปสู่ปอด จึงเกดิความดันโลหิตสูง ทำให้ร่างกายชดเชยโดยทำให้กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างขวาใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดหัวใจวายได้ ซึ่งจะพบอาการบวมน้ำและท้องมาน ในระยะนี้สุนัขจะซึม ไอแห้งๆ และอ่อนเพลียมาก

อาการป่วย
ถึงแม้สุนัขจะติดเชื้อพยาธิหนอนหัวใจเมื่ออายุน้อย อยู่ แต่ส่วนใหญ่มักจะแสดงอาการป่วยเมื่อสุนัขมีอายุมาก คือมากกว่า 4 ปี โดยพบว่าสุนัขที่ติดเชื้อพยาธิหนอนหัวใจจำนวนมากจะซึม เหนื่อยง่าย หายใจหอบ ร่างกายอ่อนเพลีย ไอแห้งๆ และบางตัวจะมีเลือดออกมาด้วยเมื่อไอ และในระยะต่อมาจะบวมน้ำและท้องมาน และตายในที่สุด
ถ้าติเชื้อพยาธิหนอน หัวใจจำนวนไม่มากจำไม่พบอาการเด่นชัด แต่จะสังเกตได้ในสุนัขใช้งาน (เช่น พันธุ์อัลเซเชียน) โดยสุนัขจะเหนื่อยง่าย หอบเมื่อให้ออกกำลังกาย และสุนัขบางตัวถึงกับหัวใจวายตายได้

การวินิจฉัย
อาศัยอาการทางคลีนิคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติ ของระบบหมุนเวียนโลหิต เช่น ไอแห้งๆ บวมน้ำ และท้องมาน เป็นต้น ร่วมกับการตรวจพบตัวอ่อนของพยาธิหนอนหัวใจในเลือด
ในรายที่ตรวจไม่พบตัว อ่อนในเลือด แต่มีอาการอยู่ในข่ายที่สงสัยว่าเป็นพยาธิหนอนหัวใจ ต้องทำการวินิจฉัยทางวิทยาภูมิคุ้มกัน เพื่อตรวจหาแอนติเจนของพยาธิตัวแก่ในเลือดก่อน ซึ่งเกิดขึ้นได้ในรายที่ให้สุนัขที่มีอายุเกิน 6 เดือนซึ่งติดเชื้อพยาธิหนอนหัวใจกินหรือฉีดยาป้องกันโรคพยาธิหนอนหัวใจโดย ไม่ทำการตรวจเลือดก่อนว่ามีตัวอ่อนพยาธิหนอนหัวใจหรือไม่ ยาป้องกันโรคพยาธิหนอนหัวใจจะไปทำลายตัวอ่อนในรายที่ติดเชื้อพยาธิหนอนหัวใจ ทำให้ไม่สามารถตรวจพบตัวอ่อนของพยาธิหนอนหัวใจได้ทั้งๆที่มีตัวแก่ของพยาธิ หนอนหัวใจอยู่ การตรวจวินิจฉัยโดยวิธีการนี้ให้ผลแม่นยำดีมาก แต่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

การรักษา
เนื่องจากยาที่ใช้ฉีดทำลายตัวแก่พยาธิหนอนหัวใจมี ความเป็นพิษสูง ดังนั้นก่อนที่จะใช้ยานี้ในการรักษาโรคพยาธิหนอนหัวใจต้องตรวจสุขภาพสุนัข ให้ละเอียด รวมทั้งการตรวจค่าโลหิตวิทยาเพื่อดูการทำงานของตับและไต ในบางรายอาจจำเป็นต้องถ่ายเอ็กซเรย์ช่องอกเพื่อดูสภาพของหัวใจและปอดด้วย ถ้าสุขภาพไม่ดีก็จำเป็นที่จะต้องให้การบำรุงไปก่อน ถ้าสุขภาพอยู่ในขั้นที่จะฉีดยารักษาได้ก็ให้การรักษาทันที
ในปัจจุบันยา ที่ใช้ในการรักษาโรคนี้มีราคาแพงมาก จึงควรที่จะป้องกันและควบคุมไม่ให้เกิดโรคนี้จะดีกว่า นอกจากนี้สุนัขที่ฉีดยารักษาโรคพยาธิหนอนหัวใจอาจจะตายได้ เนื่องจากตัวแก่ของพยาธิหนอนหัวใจที่ตายอุดหลอดเลือด ดังนั้นจึงควรขังสุนัขที่ฉีดยารักษาไว้อย่างน้อย 2-6 สัปดาห์
หลังจากฉีด ยาทำลายตัวแก่แล้วประมาณ 4 สัปดาห์ จึงควรให้กินหรือฉีดยาทำลายตัวอ่อน และให้กินหรือฉีดยาป้องกันตามโปรแกรมที่แนะนำให้โดยสัตวแพทย์ เพื่อไม่ให้เกิดเป็นโรคนี้ขึ้นมาได้อีก

การควบคุมและป้องกัน
การควบคุมโรคพยาธิหนอนหัวใจโดยการป้องกัน ไม่ให้ยุงที่มีเชื้อพยาธิหนอนหัวใจมากัดนั้นกระทำได้ยาก เพราะประเทศไทย อยู่ในเขตร้อนและมียุงตลอดปี จึงต้องใช้วิธีการป้องกันโดยการกินหรือฉีดยาทำลายตัวอ่อนในเลือดสุนัขเพื่อ ไม่ให้พัฒนาไปเป็นตัวแก่ในหัวใจสุนัข แต่การฉีดยาป้องกันจะสะดวกและประหยัดกว่าการให้กิน เพราะถ้าให้กินยาต้องให้กินทุกเดือน แต่ถ้าฉีดให้ฉีดให้ทุก 2 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่สุนัขอายุ 3 เดือน

ถ้าจะใช้โปรแกรมการป้องกันพยาธิหนอน หัวใจในสุนัขที่มีอายุมากกว่า 6 เดือน ในขั้นแรกต้องทำการตรวจเลือดก่อนว่ามีตัวอ่อนของพยาธิหนอนหัวใจอยู่หรือไม่ ถ้าตรวจไม่พบตัวอ่อนก็เข้าโปรแกรมป้องกันได้เลย แต่ถ้าตรวจพบตัวอ่อนพยาธิหนอนหัวใจ แสดงว่ามีตัวแก่อยู่ในหัวใจ ต้องฉีดยาทำลายตัวแก่ก่อน จากนั้นจึงเข้าโปรแกรมป้องกันโรคนี้
ส่วนสุนัข ที่ต้องการจะเข้าโปรแกรมการป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ แต่ (1) เคยได้รับยาป้องกันโรคพยาธิหนอนหัวใจมาแล้ว แต่ไม่ได้รับต่อเนื่องตามโปรแกรมที่แนะนำโดยสัตวแพทย์ หรือ (2) เคยประยุกต์ใช้ยาป้องกันโรคพยาธิหนอนหัวใจมาใช้ในการกำจัดเห็บและขี้เรื้อน ในทั้งสองกรณีนี้จำเป็นต้องทำการตรวจทางวิทยาภูมิคุ้มกัน เพื่อหาแอนติเจนของพยาธิตัวแก่ในเลือดเสียก่อน เพราะถึงแม้จะตรวจเลือดไม่พบตัวอ่อน แต่ก็อาจจะมีตัวแก่ในหัวใจได้ ถ้าผลการตรวจเป็นลบ แสดงว่าไม่มีพยาธิหนอนหัวใจตัวแก่ สามารถเข้าโปรแกรมการป้องกันได้เลย แต่ถ้าผลเป็นบวกแสดงว่ามีตัวแก่อยู่ในหัวใจ ต้องฉีดยาทำลายตัวแก่ก่อน จากนั้นจึงเข้าโปรแกรมการป้องกัน
http://kah.kasetanimalhospital.com

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

รู้กันหรือป่าวครับ ว่าพยาธิในน้องหมานั้นสามารถติดต่อถึงคนได้

รู้กันหรือป่าวครับ ว่าพยาธิในน้องหมานั้นสามารถติดต่อถึงคนได้ครับ ซึ่งมีหลายชนิดเลยทีเดียว บางชนิดถ้าติดถึงคนแล้วอาจเป็นอันตรายถึงขั้น ตาบอดกันเลยทีเีดียวครัีบ แต่ว่าปัญหาเหล่านี้เราสามารถที่จะป้องกันได้ครัีบ เราไปทำความรู้จักพยาธิในสุนัขและวิธีป้องกันกันดีกว่าครับ

พยาธิตัวกลม (Ascariasis)
เป็นพยาธิสำคัญมากในลูกสุนัขและแมว รูปร่างคล้ายไส้เดือน ตัวกลม ความยาวประมาณ 10 ซม. สุนัขโตจะมีภูมิต้านทานต่อพยาธิและขับพยาธิออกมาได้ สามารถพบพยาธิตัวอ่อนแทรกตามเนื้อเยื่อของร่างกายแม่สุนัขและถ่ายทอดพยาธิสู่ลูกสุนัขทางรกและผ่านทางน้ำนม เมื่อลูกอ่อนดูดนมจะติดพยาธิจากแม่และตัวอ่อนจะเจริญเป็นพยาธิตัวแก่ในทางเดินอาหาร ระยะเวลาที่ลูกสัตว์ได้รับตัวอ่อนของพยาธิจนเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย ตรวจพบไข่พยาธิในอุจจาระของสัตว์ใช้เวลาประมาณ 4-5 สัปดาห์
อาการ
ลูกสัตว์จะผอม ท้องกาง ถ่ายเหลว มีพยาธิปนออกมากับอุจจาระหรืออาเจียน
การติดต่อถึงคน
พยาธิไส้เดือนสามารถติดต่อถึงคนได้โดย
- การรับประทานอาหารที่มีตัวอ่อนพยาธิปนเปื้อน
- เล่นกับสัตว์เลี้ยงในสนามที่มีมูลสัตว์ถ่ายอยู่จะมีโอกาสได้รับไข่พยาธิ
- อุ้มลูกสุนัขเล่น ไข่พยาธิจะติดมือผู้อุ้ม
- การหยิบอาหารรับประทานโดยไม่ล้างมือให้สะอาด จะติดพยาธิโดยบังเอิญ
อาการในคนที่ติดพยาธิ
เมื่อไข่พยาธิแตกเป็นตัวอ่อนเคลื่อนที่แทรกไปตามอวัยวะภายใน
- ทำให้เกิดการอักเสบตามอวัยวะต่างๆ
- ทำให้ตาบอดได้จากการเคลื่อนที่ของตัวอ่อนพยาธิตัวกลมไปที่ตา
การจัดการ
- ควรถ่ายพยาธิเมื่อลูกสุนัขอายุครบ 2-3 สัปดาห์ และถ่ายพยาธิซ้ำตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
- สุนัขตั้งท้ องควรถ่ายพยาธิเช่นเดียวกันได้แก่ ก่อนการผสมพันธุ์ ระหว่างการตั้งท้องและหลังคลอดลูก
- ควรเก็บอุจจาระลูกสุนัขออกจากสนามหรือพื้นบ้านที่สุนัขถ่ายไว้ทันทีและทำความสะอาด
- เมื่อเด็กเล่นกับสุนัขควรล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง



พยาธิปากขอ (Ancylostomiasis)
เป็นพยาธิที่มีลักษณะพิเศษคือ จะมีฟันแหลมคม คล้ายตะขอฝังลงในผนังเยื่อบุลำไส้ ดูดเลือดสุนัข จะทำให้สุนัขโลหิตจางอย่างรุนแรงจนตายได้
การติดต่อถึงคน
ไข่ของพยาธิปากขอจะปนออกมากับอุจจาระของสุนัขที่เป็นโรคและฟักออกเป็นตัวอ่อนตามพื้นและในดิน ตัวอ่อนของพยาธิจะไชชอนผ่านผิวหนังของคนเข้ามาในร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ชอบใส่รองเท้าเดินหรือวิ่งเท้าเปล่าบริเวณสนามหญ้าหรือพื้นที่มีมูลสุนัขอยู่ มีรายงานในเด็กที่มีอาการคันเท้าหรือเป็นผื่นแดงบริเวณผิวหนังเท้า เนื่องจากการเคลื่อนที่ของตัวอ่อนพยาธิปากขอ ในสัตว์ก็เช่นเดียวกัน ตัวอ่อนของพยาธิจะไชชอนตามบริเวณซอกนิ้วเท้า โดยเฉพาะบริเวณที่มีความชื้นสูงและอากาศอบอุ่น เหมาะสมที่จะทำให้ไข่พยาธิฟักเป็นตัวอ่อนเข้าสู่ร่างกายของสัตว์
การจัดการ
- ควรนำลูกสุนัขไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจไข่พยาธิปากขอในอุจจาระ และขอคำแนะนำการถ่ายพยาธิ หรือพบว่าสุนัขถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด จะเป็นอาการบ่งว่าเป็นโรคพยาธิชนิดนี้
- ควรฝึกให้เด็กใส่รองเท้าวิ่งเล่นบริเวณสนามหรือตามพื่นที่เลี้ยงสัตว์อยู่ ไม่ควรเดินเท้าเปล่า




พยาธิตืดเม็ดแตงกวา (Teaniasis)
พยาธิตัวแบบในสุนัขและแมว ติดต่อโดยสุนัขจะกินหมัดและเหาซึ่งเป็นตัวนำพยาธิ มีลักษณะเป็นปล้องๆต่อกันยาว ปล้องที่แก่จะหลุดออกมาสีขาวคล้ายเม็ดแตงกวา ถ้ามีพยาธิจำนวนมากปล้องพยาธิปนออกมากับอุจจาระของสุนัขที่เป็นพยาธิ
การติดต่อถึงคน
โดยเฉพาะเด็กที่ชอบจับหมัดมาบี้ให้แตก ตัวอ่อนของพยาธิอาจติดมือเด็ก เมื่อเด็กหยิบอาหารรับประทานโดยไม่ได้ล้างมือก่อน จะทำให้เด็กติดพยาธิได้
อาการในคนที่ติดพยาธิ
ผอม สุขภาพทรุดโทรมทั้งๆที่ยังรับประทานอารได้ดี ถ้ามีพยาธิจำนวนมากจะมีอาการโลหิตจางร่วมด้วย การวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการตรวจไข่พยาธิตืดในอุจจาระ
การจัดการ
- ควรถ่ายพยาธิโดยใช้ยาที่มีประสิทธิภาพทุก 3 เดือน
- ควบคุมและกำจัดหมัด และเหาในสัตว์เลี้ยง
- ควรทำความสะอาดบริเวณบ้าน ที่รองนอนของสัตว์โดยการตากแดดอย่างสม่ำเสมอ
- ควรใช้ยาควบคุมและกำจัดหมัดและเหาในสัตว์เลี้ยงตามคำแนะนำของสัตวแพทย์

เด็กๆเสี่ยงต่อการติดพยาธิจากสัตว์เลี้ยง
มีการสำรวจว่า 73% ของกุมารแพทย์ในสหรัฐอเมริการพบว่า ทุกๆปีกุมารแพทย์เหล่านี้จะพบเด็กอย่างน้อย 1 คน ที่ติดพยาธิที่มีพาหะจากสัตว์เลี้ยง

ทราบหรือไม่ว่า?
- การถ่ายพยาธิเพียงปีละครั้งไม่เพียงพอต่อการตัดวงจรชีวิตของพยาธิและไม่สามารถทำให้เรามั่นใจได้ว่าสุนัขของเราจะปลอดจากพยาธิ
- สุนัขที่ติดพยาธิหรือเป็นพยาธิอาจจะไม่แสดงอาการป่วยใดๆให้เราสังเกตเห็นได้ แต่อาจจะเป็นพาหะที่นำพยาธิมาสู่คนได้
- สุนัขที่เป็นพยาธิมักจะเป็นพยาธิมากกว่า 1 ชนิด
- พยาธิไส้เดือนสามารถวางไข่ได้มากถึงวันละ 100,000 ฟอง ไข่พยาธิเหล่านี้สามารถมีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมได้หลายเดือน-ปี เพื่อรอฟักเป็นตัวในร่างกายคนหรือสัตว์
- อันตรายจากพยาธตัวตืดบางชนิดสามารถทำให้คนเสียชีวิตได้
ป้องกันง่ายๆเพียงแค่
- ถ่ายพยาธิทุกๆ 3 เดือน
- เลือกใช้ยาถ่ายพยาธิที่ออกฤทธิ์กว้างต่อพยาธิตัวกลมและตัวตืด
- เลือกใช้ยาถ่ายพยาธิที่ออกฤทธิ์ในการกำจัดพยาธิทุกระยะ ทั้งตัวอ่อน ตัวแก่และไข่
http://www.fellowbulldogs.com

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

6 ชนิดโรคตาของน้องหมา สาเหตุโรคตา วิธีการป้องกันและแก้ไขโรคตาของน้องหมา

6 ชนิดโรคตาของน้องหมา สาเหตุโรคตา วิธีการป้องกันและแก้ไขโรคตาของน้องหมา
ภัยร้ายที่เกิดกับตาของน้องหมา โรคตาของน้องหมาเราก็เป็นโรคอันตรายสำคัญอีกโรคครับ ที่เป็นอันตรายกับน้องหมาของเรามากครับ โดยโรคตานั้นมีด้วยกันหลายชนิด และ มาจากหลายสาเหตุครับ ลองศึกษาและหาทางป้องกันรักษากันครับ



1. ต้อกระจกที่เป็นมาโดยกำเนิด (Congenital cataract) ต้อกระจก คือการมัวของตาซึ่งเกิดจากความขุ่นในเนื้อเลนส์ในดวงตา ซึ่งมีหลายสาเหตุให้เกิด เช่น จากอายุที่มากขึ้น, โรคติดเชื้อในครรภ์มารดา, อุบัติเหตุ, การอักเสบทั้งจากการติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ, การรับรังสี, โรคที่เกิดจากการขาดอาหาร, โรคทางพันธุกรรมบางอย่าง, โรคทาง metabolic นอกจากนี้ หากเกิดร่วมกับบางโรคอาจทำให้เลนส์ขุ่นขึ้นได้เร็วกว่าปกติ เช่น เบาหวาน เป็นต้น พบได้ในพันธุ์อิงลิช ค็อกเกอร์ สเปเนียล เยอรมันเชพเพิร์ด หรือรู้จักกันในนาม อัลเซเชียน ร็อตไวเลอร์ พูเดิล เทอร์เรีย

2. ต้อหิน (Glaucoma) เป็นภาวะที่เกิดจากความดันในลูกตาสูงขึ้นและมีการเสื่อมของประสาทตาและสูญเสียการมองเห็น ความดันในตาที่สูงจะกดดันเส้นประสาทตา (optic nerve) ให้เสื่อม ความดันสูงเป็นเวลานานประสาทตาก็จะเสื่อมทำให้สูญเสียการมองเห็น การสูญเสียการมองเห็นจะเริ่มที่ขอบนอกของลานสายตา ส่วนตรงกลางภาพยังเห็นชัด หากไม่ได้รักษาการมองเห็นจะจะได้ภาพเล็กลง โดยมากมักจะเป็นสองข้าง อาจจะเป็นข้างใดข้างหนึ่งก่อน พบได้ในพันธุ์อากิตะ บัสเส็ต ฮาวน์ คอลลี่ บูลเทอร์เรีย ดัลเมเชียน อิงลิช ค็อกเกอร์ สเปเนียล ไซบีเรียน ฮัสกี้

3. โรคตาแห้ง (Dry eye) คือ ภาวะที่น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาน้อยลงกว่าปกติ อาจเกิดจากการขาดวิตามินเอ หรือเกิดจากความผิดปกติของตาในการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงตาลดลง หรืออาจเกิดจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาหยอดแก้เคืองตาหรือยากินแก้แพ้เป็นระยะเวลานาน พบได้ในพันธุ์ต่อไปนี้ อเมริกัน ค็อกเกอร์ สเปเนียล บูลด๊อก บูลเทอร์เรีย เชาเชา ดัชชุน มินิเจอร์ พูเดิล ชิสุห์

4. หนังตาม้วนเข้ามากเกินไป (Entropion) เกิดจากเนื้อขอบหนังตามาก จึงดันขนตาม้วนเข้าใน ขนตาจะเขี่ยนัยน์ตา ทำให้น้ำตาไหลง่าย พบได้ในพันธุ์ต่อไปนี้ อเมริกัน ค็อกเกอร์ สเปเนียล บ๊อกเซอร์ บูลเทอร์เรีย ชิวาวา เชาเชา ดัชชุน ดัลเมเชียน ดเบอร์แมนพินช์เชอร์ อิงลิช ค็อกเกอร์ สเปเนียล ฟ็อกซ์ เทอร์เรีย โกลเด้นรีทรีฟเวอร์ เกรตเดน ลาบราดอร์รีทรีฟเวอร์ มัสทิฟ พุดเดิล ชเนาเซอร์ นิวฟาวน์แลนด์ ปักกิ่ง ปอมเมอเรเนียน ร็อตไวเลอร์ เซนต์เบอร์นาร์ด ชาร์ไป่ย

5. หนังตาม้วนออกมากเกินไป (Ectopion) หนังตาม้วนออกส่วนใหญ่จะเกิดกับหนังตาล่าง สาเหตุอาจจะเกิดจากอายุมากกล้ามเนื้อตาหย่อน ปลายประสาทที่มาเลี้ยวกล้ามเนื้อหนังตาไม่ทำงาน มีแผลเป็นที่ผิวหนังรั้งหนังตา เมื่อหนังตาม้วนออก จะหลับตาไม่สนิท ทำให้แสบตาน้ำตาไหล ตาแดง พบได้ในพันธุ์ต่อไปนี้ อเมริกัน ค็อกเกอร์ สเปเนียล บ๊อกเซอร์ บูลเทอร์เรีย ชิวาวา เชาเชา ดัชชุน ดัลเมเชียน โดเบอร์แมนพินช์เชอร์ อิงลิช ค็อกเกอร์ สเปเนียล ฟ็อกซ์ เทอร์เรีย โกลเด้นรีทรีฟเวอร์ เกรตเดน ลาบราดอร์รีทรีฟเวอร์ มัสทิฟ พุดเดิล ชเนาเซอร์ นิวฟาวน์แลนด์ ปักกิ่ง ปอมเมอเรเนียน ร็อตไวเลอร์ เซนต์เบอร์นาร์ด ชาร์ไป่ย

6. โรคจอตาลอกหลุด (Retinal detachment) คือ การที่เยื่อชั้นนอก และชั้นในของจอประสาทตาลอกตัวแยกออกจากกันในบางส่วน และมีการลามออกไปจนในที่สุดลอกหลุดออกจากกันจนหมด พบได้ในพันธุ์ อัฟกันฮาวน์ อเมริกัน ค็อกเกอร์ สเปเนียล อิงลิช ค็อกเกอร์ สเปเนียล บาเซนจิ เกรตเดน ร็อตไวเลอร์ ชิสุห์

ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงโรคตา 6 ชนิด ทีพบบ่อยมากๆในน้องหมาครับ หากสังเกตุตาน้องหมาของเราแล้วเห็นถ้าไม่ดีก็ควรพาไปปรึกษาสัตวแพทย์นะครับ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

รู้หรือป่าวว่าน้องหมาของเราเป็นโรคเหงาเข้าแล้ว

วันนี้นำเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆ แ่ต่สำคัญมากๆ สำหรับน้องหมาของเราครับ เรารู้กันหรือป่าวที่น้องหมา ชอบเห่า ปัสสาวะเรี่ยราด หรือชอบทำลายข้าวของนั้นอาจจะแสดงว่าสุนัขของคุณเป็นโรคเหงาครับ เพราะสุนัขเป็นสัตว์สังคม สุนัขป่าก็ยังอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง สุนัขบ้านจะถือว่าสมาชิกในครอบครัวคือฝูงของมันเช่นเดียวกัน สุนัขที่สนิทกับเจ้าของหรือสมาชิกในครอบครัวมากๆ จะเกิดอาการเครียดละเหงาเมื่อถูกปล่อยให้อยู่เพียงลำพัง โดยแสดงออกด้วยการเห่า ขุด กัดแทะ และพยายามทำลายข้าวของในบ้านคุณต้องเข้าใจว่าสุนัขของคุณไม่ได้มีเจตนาแกล้ง เพียงแต่มันรู้สึกไม่สบายใจเวลาที่ต้องอยู่เพียงลำพัง และพยายามที่จะหาทางไปหาเจ้าของให้ได้ เช่น การขุด กัดแทะประตู หรือทำไปเพื่อผ่อนคลายอารมณ์เครียด เช่น ปัสสาวะ อุจจาระ หรือรื้อข้าวของในบ้านมากัดเล่น



เรามาดูเคล็ดลับวิธีแก้ไขไม่ให้น้องหมาของเราเป็นโรคเหงากันครับ

ขั้นแรก ลดอาการดีใจหรือเสียใจสุดเหวี่ยง เมื่อเวลาที่คุณเข้าหรือออกจากบ้าน

เมื่อเจ้าของกลับมาบ้านหรือออกจากบ้านทุก ทั้งสองอย่างก่อให้เกิดความเครียดในตัวสุนัขอย่างมาก พฤติกรรมทำลายข้าวของจะเกิดทันทีที่เจ้าของก้าวเท้าออกจากบ้าน หรือก้าวเท้าเข้ามาในบ้าน (โดยเฉพาะผู้ที่กลับบ้านตรงเวลา) การลดความเครียดของสุนัขในเรื่องนี้ทำโดยอย่าทำให้สุนัขตื่นเต้นเมื่อเวลาเจ้าของเข้าหรือออกจากบ้าน โดยทำทีไม่สนใจตัวสุนัขสัก 5 นาที ขณะที่คุณเตรียมเก็บเอกสารหรือข้าวของ เช่นกุญแจ เสื้อคลุม ฯลฯ ทำอย่างปกติเรียบๆ ก่อนออกอาจจะกล่าวคำว่าสวัสดีหรือบ๊ายบาย ด้วยน้ำเสียงปกติแล้วเดินออกจากบ้านไปอย่างปกติธรรมดา อย่ากล่าวคำสั่งเสียกับสุนัข เช่น ดูแลบ้านให้ดีนะ อย่ากัดทำลายของ ฯลฯ เพราะจะไปกระตุ้นให้สุนัขเกิดความตื่นตัวก่อนที่เราจะออกจากบ้าน เพราะจะทำให้สุนัขรู้สึกว่าถูกทิ้งตามลำพังซึ่งสุนัขจะรู้สึกว่าแย่ การที่ทำทีไม่สนใจสุนัขเขาจะเข้าใจว่าคุณอยู่บ้านในที่ใดสักแห่งที่เขาไม่เห็น เวลากลับเข้าบ้านก็เช่นเดียวกัน ทำเป็นไม่เห็นสุนัขของคุณสัก 5 นาที ขณะเดียวกันคุณก็วางข้าวของของคุณตามปกติ อย่าพูดกับสุนัขยกเว้นดุให้เขาสงบลง สำหรับสุนัขที่ควบคุมยากให้ยืนหันหน้าเข้าหากำแพง อย่าทักทายสุนัขจนกว่าสุนัขจะสงบลง จึงกล่าวคำทักทาย เช่น ตบเบาๆ ที่ไหล่แล้วกล่าวคำว่าสวัสดี แต่อย่าทำให้สุนัขตื่นเต้นดีใจอีก

ข้อควรระวัง คือ ห้ามลงโทษสุนัขเมื่อกลับเข้ามาในบ้าน ไม่ว่าสุนัขของคุณจะทำลายข้าวของเสียหายขนาดไหนก็ตาม เพราะสุนัขอาจจะคิดว่าคุณทำโทษเขาเพราะเขาอยู่เพียงลำพัง ซึ่งจะยิ่งทำให้แย่ลงไปอีก ถ้าสุนัขเคยฝึกให้อยู่ในที่เฉพาะก็จะยิ่งง่าย แต่สุนัขบางตัวก็อาจยิ่งมีอาการตื่นกลัวเมื่อถูกจำกัดบริเวณหรืออยู่ในที่แคบ โดยเฉพาะในกรงของสุนัข กรณีนี้ไม่ควรให้สุนัขอยู่ในกรง


ขั้นที่ 2 จำกัดบริเวณสุนัข

วัตถุประสงค์เพื่อลดการทำลายข้าวของในบ้านให้น้อยลง ถ้าเจ้าของทำได้ควรจำกัดบริเวณที่สุนัขอยู่ให้แคบลง เพื่อลดการทำลายข้าวของ

ขั้นที่ 3 หาอะไรให้สุนัขทำ

อย่างเช่นหาของเล่นพวกของแทะหรือกระดูกเทียมหรือสิ่งที่สุนัขชอบ ของเล่นที่มีโพรงข้างในอาจใส่ขนมล่อใจที่สัตว์ชอบสุนัขเพื่อให้สุนัขพยายามแคะออกมากิน หรือห่อขนมไว้ในกระดาษหนังสือพิมพ์แล้วใส่ไว้ในกล่องอีกทีแล้วปิดเทปกาวทับ สุนัขก็จะพะวงกับการเอาขนมออกจากกล่อง สุนัขก็จะไม่มีเวลาไปทำลายข้าวของในบ้าน แต่สุนัขบางตัวก็ไม่ยอมรื้อขนมออกจากกล่องที่ท่านทำไว้ ท่านเจ้าของต้อง

ขั้นที่ 4 ภาวะที่สุนัขจะยอมรับเมื่อเจ้าของออกจากบ้าน

ขั้นนี้เป็นขั้นที่สำคัญที่สุด และต้องใช้ระยะเวลานานที่สุดท่านต้องใจเย็นมากๆ สุนัขที่เฝ้าดูเจ้าของเก็บกุญแจบ้าน, กุญแจรถ, กระเป๋าถือฯลฯ เวลาที่เจ้าของออกจากบ้าน สุนัขที่เป็นโรคเหงาจะเริ่มแสดงอการเมื่อเจ้าของก้าวไปที่ประตูบ้าน เจ้าของต้องรอจนกว่าสุนัขจะคลายความตื่นเต้นหรือกังวลลงเพื่อให้สุนัขตายใจว่าท่านไม่ได้กำลังออกจากบ้าน และเจ้าของต้องไม่เปิดประตูหรือทำท่าว่าจะออกไปจากบ้าน เมื่อสุนัขผ่อนคลายความกังวลลงให้ขนมหรือของที่สุนัขชอบ เจ้าของอาจต้องทำท่าอย่างที่กล่าวซ้ำหลายๆ ครั้งเพื่อให้สุนัขไม่แสดงอาการกังวล ขั้นต่อไปคือทำท่าทางเก็บข้าวของออกจากบ้านเดินตรงไปที่ประตูแล้วเปิดประตูแต่อย่างก้าวเดินออกไปเป็นอันขาด แค่เดินไปเปิดแล้วปิด ทำซ้ำๆ หลายๆ ครั้งจนสุนัขรู้สึกชินและเฉยจึงให้รางวัลล่อใจ ขั้นตอนต่างๆ ที่ทำซ้ำควรเว้นระยะห่างประมาณ 5-10 นาที ขั้นต่อไปคือทำท่าเก็บข้าวของออกจากบ้านเดินไปที่ประตู เปิดประตูแล้วเดินออกไปแต่อย่าปิดประตู ทำซ้ำเช่นเดิมจนสุนัขชินจึงให้รางวัล ขั้นต่อมาคือทำท่าเหมือนจะออกจากบ้านแล้วเดินไปที่ประตูเปิดแล้วเดินออกจากประตูพร้อมกับปิดประตู แต่ท่านเจ้าของต้องรีบเข้ามาถ้าสุนัขเริ่มมีความระแวง ถ้าสุนัขเฉยท่านรอสัก 30 วินาทีค่อยเดินเข้าประตูมา เจ้าของสุนัขต้องทำเช่นที่กล่าวซ้ำๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มเวลาที่อยู่นอกประตูให้นานขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าสุนัขจะชิน เช่นเพิ่มเวลาจาก 30 วินาทีเป็น 1 นาที, 2 นาที, 5 นาที, 10 นาที, 20 นาที, เพิ่มไปเรื่อยๆ จนเป็นชั่วโมง สุนัขแต่ละตัวอาจต้องการเวลาในการฝึกแตกต่างกัน เมื่อเพิ่มเวลาอยู่นอกบ้านของเจ้าของได้เป็นชั่วโมงก็ง่ายที่จะเพิ่มเวลาไปเรื่อยๆ จนถึง 7-8 ชั่วโมงสุนัขจะกังวลมากเมื่อถูกทิ้งไว้ตัวเดียว โดยแสดงอาการต่างๆ เช่น ครางหงิ๋ง ๆ , เห่า, ขุด, แทะ, หอน, ปัสสาวะเรี่ยราด, วิ่งวนไปรอบๆ , พยายามหลบหนีออกนอกกรงหรือบ้าน สุนัขที่ขี้เหงามักจะอ้อนเจ้าของค่อนข้างมาก และต้องการเวลาทักทายกับเจ้าของเวลาพบเจ้าของหลังเวลาเลิกงานนานกว่าสุนัขปกติ สุนัขพวกนี้มักเดินตามเจ้าของไปรอบบ้าน กระโดดหรือเข้ามาคลอเคลีย เห่า ครางหงิ๋ง หรือเลียมือและหน้าเจ้าของเป็นเวลานาน ๆ
ที่มา lovedogcenter.com

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ในโลกนี้มีน้องหมาหลากหลายสายพันธุ์ แต่ว่าเรารู้กันหรือไม่ว่าคนเค้านิยมในการเลี้ยงน้องหมาพันธุ์ไหนกันมากที่สุด

ในโลกนี้มีน้องหมาหลากหลายสายพันธุ์ แต่ว่าเรารู้กันหรือไม่ว่าคนเค้านิยมในการเลี้ยงน้องหมาพันธุ์ไหนกันมากที่สุด ซึ่งน้องหมาแต่ละสายพันธุ์ก็มีความน่ารักในแบบต่างๆกันไปครับซึ่งแล้วแต่ว่าใครจะชอบแบบไหนก็เลือกกันได้เลยครับ สำหรับคนที่จะเลี้ยงสุนัขก็ต้องศึกษาด้วยครับว่าแต่ละสายพันธุ์นั้น น้องหมาเค้าเป็นอย่างไรกันบ้างเช่น ขนาด นิสัย การดูแล ต่างๆ ครับ เพราะเวลานำมาเลี้ยงแล้วจะได้ดูแลกันได้ถูกครับ คราวนี้เรามาดูกันครับว่าคนในโลกนี้เค้านิยมเลี้ยงสายพันธุ์อะไรกันบ้าง


อันดับที่1ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์



สุนัข ขนาดใหญ่ เป็นสุนัขที่ต้องการการออกกำลังกายเป็นพิเศษและรักเด็ก ส่วนสูง น้ำหนัก วงจรชีวิต การจัดกลุ่มพันธุ์ 21.5-24.5 นิ้ว 55-75 ปอนด์ 10-12 ปี สุนัขที่ใช้ในกีฬาล่าสัตว์
ลักษณะเด่น
มี ขนสองชั้น ชั้นนอกสั้น เหยียดตรง และแน่น ขนชั้นในนุ่มและช่วยปกป้องจากสภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายได้ดี สีขนเป็นสีดำ สีเหลือง หรือสีช็อคโกแลต บางครั้งอาจมีจุดขาวบริเวณหน้าอก หางของลาบราดอร์ดูคล้ายหางของตัวนาก โคนหางจะหนาและเรียวลงจนถึงปลายหาง
นิสัย
เป็น สุนัขที่มีเสน่ห์และน่าเลี้ยงที่สุดพันธุ์หนึ่ง ฝึกง่าย ตื่นตัว กระฉับกระเฉง ช่างประจบ ใจดี และ ฉลาด สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี เป็นมิตรกับคนและสัตว์อื่น เป็นสุนัขที่รักเด็ก และชอบเล่นกับเด็ก นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการสะกดรอยและการปราบปรามยาเสพติด
การตัดแต่งขนและการออกกำลังกาย
ควร แปรงขนให้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง การเดินและวิ่งเล่นในที่ที่ไม่พลุกพล่านถือเป็นการออกกำลังกายที่ดี และเนื่องจากลาบราดอร์เป็นสุนัขที่ไม่กลัวน้ำ ชอบว่ายและเล่นน้ำ หากมีเวลาก็ควรให้ได้ลงไปว่ายน้ำเก็บของบ้าง
ถิ่นกำเนิด
ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์มีต้นกำเนิดในนิวฟาวแลนด์ ประเทศแคนาดา ช่วยชาวประมงลากอวนเข้าฝั่ง
ข้อควรระวังเป็นพิเศษ
ควร หาลูกสุนัขที่มีสายพันธุ์ที่ดีจากผู้เพาะพันธุ์ที่มีชื่อเสียง ปัญหาสุขภาพของสายพันธุ์ : โรคข้อสะโพกห่าง โรคกระดูกอ่อนบวม โรคขาดฮอร์โมนไทรอยด์ โรคจอรับภาพเสื่อมเรื้อรัง โรคต้อกระจก โรคลมบ้าหมู

อันดับที่2โกลเด้นรีทรีฟเวอร์



สุนัข ขนาดใหญ่ เป็นสุนัขที่ต้องการการออกกำลังกายเป็นพิเศษและรักเด็ก ส่วนสูง น้ำหนัก วงจรชีวิต การจัดกลุ่มพันธุ์ 21.5-24.5 นิ้ว 55-75 ปอนด์ 10-12 ปี สุนัขที่ใช้ในกีฬาล่าสัตว์
ลักษณะเด่น
มี ขนสองชั้น ชั้นนอกสั้น เหยียดตรง และแน่น ขนชั้นในนุ่มและช่วยปกป้องจากสภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายได้ดี สีขนเป็นสีดำ สีเหลือง หรือสีช็อคโกแลต บางครั้งอาจมีจุดขาวบริเวณหน้าอก หางของลาบราดอร์ดูคล้ายหางของตัวนาก โคนหางจะหนาและเรียวลงจนถึงปลายหาง
นิสัย
เป็น สุนัขที่มีเสน่ห์และน่าเลี้ยงที่สุดพันธุ์หนึ่ง ฝึกง่าย ตื่นตัว กระฉับกระเฉง ช่างประจบ ใจดี และ ฉลาด สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี เป็นมิตรกับคนและสัตว์อื่น เป็นสุนัขที่รักเด็ก และชอบเล่นกับเด็ก นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการสะกดรอยและการปราบปรามยาเสพติด
การตัดแต่งขนและการออกกำลังกาย
ควร แปรงขนให้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง การเดินและวิ่งเล่นในที่ที่ไม่พลุกพล่านถือเป็นการออกกำลังกายที่ดี และเนื่องจากลาบราดอร์เป็นสุนัขที่ไม่กลัวน้ำ ชอบว่ายและเล่นน้ำ หากมีเวลาก็ควรให้ได้ลงไปว่ายน้ำเก็บของบ้าง
ถิ่นกำเนิด
ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์มีต้นกำเนิดในนิวฟาวแลนด์ ประเทศแคนาดา ช่วยชาวประมงลากอวนเข้าฝั่ง
ข้อควรระวังเป็นพิเศษ
ควร หาลูกสุนัขที่มีสายพันธุ์ที่ดีจากผู้เพาะพันธุ์ที่มีชื่อเสียง ปัญหาสุขภาพของสายพันธุ์ : โรคข้อสะโพกห่าง โรคกระดูกอ่อนบวม โรคขาดฮอร์โมนไทรอยด์ โรคจอรับภาพเสื่อมเรื้อรัง โรคต้อกระจก โรคลมบ้าหมู

อันดับที่2โกลเด้นรีทรีฟเวอร์ 



สุนัขขนาดใหญ่ รักเด็ก ส่วนสูง น้ำหนัก วงจรชีวิต การจัดกลุ่มพันธุ์ 21.5-24 นิ้ว 55-75 ปอนด์ 12-14 ปี สุนัขที่ใช้ในกีฬาล่าสัตว์
ลักษณะเด่น
ขน ชั้นนอกแน่น เงา หยิกเป็นลอนเล็กน้อย และราบเรียบไปตามลำตัว กันน้ำได้ดี ขนชั้นในแน่น และกันน้ำได้ดีเช่นเดียวกัน มีขนปุกปุยหนาแน่นบริเวณคอ ด้านหลังขาหลัง และหาง และมีขนปุกปุยปานกลางบริเวณด้านหลังขาหน้าและท้อง สีของขนมีหลายเฉดสีต่างกันไป ตั้งแต่สีทองเข้มจนถึงทองเงา
นิสัย
เป็น ที่ยอมรับกันทั่วไปว่ามีสุนัขน้อยพันธุ์นักที่จะมีนิสัยสุภาพ น่ารัก มีเสน่ห์ ขี้เล่น ช่างประจบเอาใจ และเสียสละรักเจ้าของได้เท่ากับสุนัขพันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์นี้ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์เป็นสุนัขที่ใจดี ชอบอยู่กับคนและสัตว์อื่น มีมนุษย์สัมพันธ์ดี สามารถปล่อยให้เป็นเพื่อนเล่นกับเด็กๆ หรือลูกหลานได้อย่างสบายใจ ค่อนข้างติดคนหรืออยากให้เจ้าของสนใจเสียจนบางครั้งอาจรู้สึกว่าน่ารำคาญ โกลเด้นรีทรีฟเวอร์เป็นสุนัขที่ฝึกง่ายซึ่งควรเริ่มฝึกเสียแต่เนิ่นๆ แต่ก็มีบางตัวที่ขี้ตกใจ เป็นกระต่ายตื่นตูม ดังนั้นการฝึกที่นุ่มนวลและมีแรงจูงใจที่ดีจะช่วยลดปัญหาเหล่านี้ได้ มันชอบเห่าเมื่อมีคนอยู่หน้าประตูบ้าน แต่มีบ่อยครั้งที่การเห่านั้นเป็นการแสดงการทักทาย มิใช่การขู่ เจ้าของควรทำรั้วล้อมรอบบริเวณบ้านให้ดี เพราะถ้าขืนปล่อยสุนัขพันธุ์นี้ให้เป็นอิสระมากไป มันจะหนีออกไปข้างนอกบ้านและคุณคงต้องตามหามันจนเหนื่อย
การตัดแต่งขนและการออกกำลังกาย
เจ้า โกลเด้นเป็นสุนัขที่มีขนร่วงมาก จำเป็นจะต้องแปรงและหวีขนให้มันสัปดาห์ละหลายๆ ครั้ง มันจะมีความสุขมากๆ หากเจ้าของพามันไปเดินเล่นไกลๆ ทุกวันหรือหาสนามโล่งๆ ให้ได้วิ่งเล่นแบบสบายๆ ไร้กังวล ได้เล่นกับสุนัขตัวอื่น วิ่งเก็บลูกบอล หรือว่ายน้ำ
ถิ่นกำเนิด
เป็น สุนัขที่มีถิ่นกำเนิดจากเมืองผู้ดีอังกฤษและสก็อตแลนด์ในราวศตวรรษที่ 19 ได้จากการผสมพันธุ์สุนัขระหว่างพันธุ์นิวฟาวแลนด์ขนเรียบสีเหลืองกับ ทวีดวอร์เตอร์ สแปเนียล ภายหลังได้ผสมกับพันธุ์ไอริช เว็ทเตอร์ บลัดฮาวด์ และ วอเตอร์ สแปเนียล เดิมเป็นสุนัขที่ใช้ในกีฬาล่าสัตว์ โดยนายพรานจะใช้มันชี้รอยตามรอย และเก็บเป็ดน้ำที่ยิงได้กลับมา
ข้อควรระวังเป็นพิเศษ
ลูก สุนัขที่ได้มาจาการผสมพันธุ์ที่ไม่ดี จะมีนิสัยก้าวร้าว ซนอย่างร้ายกาจ กระตือรือร้นมากเกินไป และขี้โรค ปัญหาสุขภาพของสายพันธุ์ : โรคข้อสะโพกและข้อศอกห่าง โรคต้อกระจก โรคขาดฮอร์โมนไทรอยด์ โรคเนื้องอกในต่อมน้ำเหลือง

อันดับที่3เยอรมัน เชฟเฟอร์ด



สุนัข ขนาดใหญ่ เป็นสุนัขที่ต้องการการออกกำลังกายเป็นพิเศษ ต้องการการดูแลขนเป็นพิเศษ และเป็นสุนัขเฝ้ายามที่ดี ส่วนสูง น้ำหนัก วงจรชีวิต การจัดกลุ่มพันธุ์ 22-26 นิ้ว 65-95 ปอนด์ 11-13 ปี สุนัขอารักขา
ลักษณะเด่น
มี ขน 2 ชั้น ขนชั้นนอกยาวปานกลาง ขนชั้นนอก แน่น หยาบ เหยียดตรงและราบไปกับลำตัวปกคลุมขนชั้นในที่แน่นและนุ่ม สีขนปกติจะเป็นสีดำกับสีน้ำตาล หรือสีดำล้วน แต่มีบางตัวที่มีสีขาว (ซึ่งยังไม่เป็นที่ยอมรับ) จมูก ขอบตา และริมฝีปากเป็นสีดำ หางมีขนฟู หูตั้งซึ่งทำให้มันดูเหมือนตื่นตัวตลอดเวลา หน้าอกลึก ขาหลังแข็งแรงและมีกล้ามเนื้อ หางจะตกหากมันรู้สึกผ่อนคลาย
นิสัย
เจ้า สุนัขแสนรู้ตัวนี้หากได้รับการผสมพันธุ์จากพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่ดีและได้ รับการฝึกฝนอย่างถูกต้องแล้ว มันจะเป็นสุนัขที่เป็นมิตร เรียบร้อย ขี้เล่น ช่างประจบเอาใจ สุนัขพันธุ์นี้สามารถฝึกให้เชื่อฟังได้ง่ายเพราะฉลาด ตอบสนองไว และมีสมาธิ เนื่องจากสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ได้ดี สามารถเลี้ยงไว้ในคอนโดหรือในเมืองที่แออัดก็ได้ แต่มีข้อยกเว้นว่าจะต้องได้รับการออกกำลังกายอย่างเพียงพอ ถ้าคุณทำไม่ได้หรือไม่แน่ใจ ขอแนะนำว่าอย่าเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้จะดีกว่า จะได้ไม่ต้องหาบ้านใหม่ให้มันในภายหลัง
การตัดแต่งขนและการออกกำลังกาย
ควร แปรงขนให้ทุกวันเพราะสุนัขพันธุ์นี้จะผลัดขนตลอดปี ต้องการการออกกำลังกายด้วยการเดินไกลๆ และควรมีเวลาให้มันได้เล่นทุกวันเพื่อไม่ให้มันรู้สึกเบื่อและมีพฤติกรรมที่ ไม่พึงประสงค์และโรคตามมา
ถิ่นกำเนิด
มี ต้นกำเนิดในราวศตวรรษที่ 19 เพื่อใช้ต้อนฝูงแกะ แต่ในปัจจุบันเนื่องด้วยมันเป็นสุนัขที่ฝึกง่าย เรียนรู้ได้เร็ว และมีความสามารถหลากหลาย จึงถูกนำไปใช้ในการ ค้นหา ช่วยชีวิต งานตำรวจและทหาร และงานตรวจหาวัตถุระเบิด มันจึงกลายเป็นสุนัขสารพัดประโยชน์ และเป็นสุนัขยอดฮิตติดอันดับสุนัขที่ผู้คนอยากเลี้ยง และสาเหตุนี้เองที่ทำให้มีผู้เพาะพันธุ์หลายรายเพาะพันธุ์สุนัขอย่างไม่ถูก ต้องและได้สายพันธุ์ไม่ดี ที่มีปัญหาหลายอย่างตามมา เช่นมีลักษณะนิสัยต่างไปจากพันธุ์ของมัน หากคุณได้ลูกสุนัขที่มีสายพันธุ์ที่ดีแล้ว เจ้านี่จะเป็นสุนัขคู่ใจของคุณไปอีกนาน
ข้อควรระวังเป็นพิเศษ
ปัญหา สุขภาพของสายพันธุ์ : โรคข้อสะโพกและข้อศอกห่าง ท้องร่วงเรื้อรัง โรคท้องมาน โรคกระดูกอักเสบ โรคแก้วตาอักเสบ โรคเลือดไหลไม่หยุดระหว่างและหลังผ่าตัด


อันดับที่4ดัชชุน 




สุ นัขพันธุ์ดัชชุนหรือ"สุนัขไส้กรอก" เป็นสุนัขที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศเยอรมันนี เป็นสุนัขในตระกูลฮาวน์ดที่มีชื่อเสียงและแปลกพวกหนึ่ง สามารถแบ่งเป็นพันธุย่อยได้ถึง 6 พันธุ์ แตกต่างกันที่ลักษณะขน เช่น ขนสั้น ขนยาว ขนหยิก เป็นต้น สุนัขพันธุ์ดัชชุนเป็นสุนัขขนาดเล็กกะทัดรัด มีน้ำหนักไม่เกิน 12.5 กิโลกรัม ลักษณะที่เด่นมากคือตัวเตี้ย แต่ลำตัวกลมยาว ทำให้ดูคล้ายไส้กรอก หัวยาวปากแหลม ฟันและเขี้ยวแข็งแรง หูใหญ่ห้อยลงด้านข้าง หางแหลมห้อยลงด้านล่าง มีหน้าอกใหญ่ ทำให้ปอดและหัวใจแข็งแรง และโตพอที่จะลุยเข้าไปในโพรงดินเพื่อหาเหยื่อที่ถูกล่า สามารถเห่าให้สัญญาณแก่เจ้าของเมื่อพบเหยื่อ มีสีขนหลายสี สีที่พบบ่อยคือ สีน้ำตาล สีช็อกโกแลต และสีดำ สุนัขพันธุ์ดัชชุน เป็นสุนัขที่มีสัญชาตญานในการดม ฟังเสียง และเคลื่อนไหวที่ดีมากชนิดหนึ่ง การเลี้ยงดัชชุน ควรระวังกระดูกสันหลังที่ยาวของมันให้ดี อย่างลูบหลังบ่อย หรืออย่างให้ถูกกระทบกระแทกจากการกระโดด ดังนั้นจึงไม่เหมาะที่จะเลี้ยงในบ้านที่มีพื้นต่างระดับหรือพื้นที่สูงๆ ต่ำๆ มาก

อันดับที่5พูเดิ้ล 


พันธุ์ มาตรฐาน : สุนัขขนาดใหญ่ ต้องการการออกกำลังกายและดูแลขนเป็นพิเศษ และรักเด็ก พันธุ์เล็กและพันธุ์ตุ๊กตา: สุนัขขนาดเล็ก ต้องการการดูแลขนเป็นพิเศษ และรักเด็ก ส่วนสูง น้ำหนัก วงจรชีวิต การจัดกลุ่มพันธุ์ 22-27 นิ้ว 45-70 ปอนด์ 10-14 ปี สุนัขที่เลี้ยงไว้เป็นเพื่อน
ลักษณะเด่น
ขน สั้นและเงางาม ขนค่อนข้างละเอียด เรียบ หยาบเล็กน้อยและไม่มีขนปุกปุย สีขนมีตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนจนถึงน้ำตาลแก่ มีขนสีขาวแต้มบริเวณหน้าอกเรียกว่าสตาร์ ข้อเท้า และปลายหาง อาจจะมีจุดสีขาวเล็กน้อยบริเวณใบหน้า จมูกจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อมันตกใจ
นิสัย
เป็น สุนัขที่ขี้ประจบและตอบสนองไว แต่คุณควรจะเริ่มฝึกมันตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะมันอาจจะตื่นตกใจมากไปสักหน่อยหากไม่ได้รับการฝึกให้คุ้นเคยกับคนหรือ สัตว์อื่นๆ ถ้าหากคุณมีพื้นที่และเวลาที่จะพามันไปออกกำลังกายและเล่นกับมันได้อย่างพอ เพียงแล้ว เจ้าฟาโรห์สุนัขพันธุ์เก่าแก่พันธุ์นี้เหมาะจะเป็นสมาชิกตัวหนึ่งในครอบครัว อย่างยิ่ง แต่ถ้าจะพามันออกนอกบ้านก็อย่างเพิ่งวางใจสักเท่าไรนัก คุณควรสวมโซ่จูงให้มันด้วย เพราะไม่อย่างนั้นมันจะหันไปวิ่งไล่กวดสัตว์เล็กๆ ให้คุณตามจับจนเหนื่อย
การตัดแต่งขนและการออกกำลังกาย
ควรแปรงขนให้เจ้าฟาโรห์สัปดาห์ละครั้ง และพาไปออกกำลังกายบ่อยๆ
ถิ่นกำเนิด
เชื่อ ว่าพ่อค้าชาวโพนีเซียนเป็นผู้นำเข้ามาในมอลต้าและโกโชเมื่อ 2,000 ปีก่อน เจ้าฟาโรห์มีหน้าตาและรูปร่างคล้ายเทวรูปอนูบิสซึ่งเป็นสุนัขของชนอียิปต์ โบราณ
ข้อควรระวังเป็นพิเศษ
สุนัข พันธุ์นี้ไม่เหมาะกับผู้เลี้ยงมือใหม่และไม่ควรเลี้ยงในเมืองหรือคอนโด ปัญหาสุขภาพของสายพันธุ์ : โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความผิดปกติเกี่ยวกับทางเดินอาหาร

อันดับที่6ชิวาวา



สุนัข ขนาดเล็ก เป็นสุนัขเฝ้ายามที่ดี ส่วนสูง น้ำหนัก วงจรชีวิต การจัดกลุ่มพันธุ์ 6-9 นิ้ว 2-6 ปอนด์ 12-15 ปี สุนัขที่เลี้ยงไว้เป็นเพื่อน
ลักษณะเด่น
ลักษณะ ขนแบ่งได้เป็น 2 พันธุ์คือ พันธุ์ขนเรียบซึ่งมีขนสั้นเป็นมันเงา และพันธุ์ขนยาวซึ่งมีขนนุ่มยาวกว่าและเป็นลอนเล็กน้อย บริเวณหูและหางจะมีขนปุกปุยขึ้น สีของขนมีสีต่างกันไป เช่น สีแดง สีดำ สีเทาแกมเหลือง และสีน้ำตาลกับสีดำ ลักษณะเด่นของสุนัขพันธุ์นี้คือหัวมีรูปทรงเหมือนลูกแอปเปิ้ล ใบหูใหญ่และตั้ง
นิสัย
ชิวา วาเป็นสุนัขที่เล็กที่สุดในบรรดาสุนัขทั้งหมด และด้วยขนาดที่เล็ก และการเลี้ยงดูที่ยุ่งยาก มันจึงไม่เหมาะกับครอบครัวที่มีเด็กเล็กๆ สุนัขพันธุ์นี้เหมาะที่จะเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนคนสูงอายุ หรือผู้ที่อาศัยตามคอนโด หากมันได้รับการฝึกและดูแลอย่างถูกต้องแล้ว สุนัขพันธุ์นี้จะเป็นสุนัขที่ขี้เล่นและร่าเริงทีเดียว
การตัดแต่งขนและการออกกำลังกาย
ชิวาวาต้องการการดูแลแปรงขนเป็นครั้งคราว พวกมันชอบเดินเล่นระยะทางสั้นๆ
ถิ่นกำเนิด
ชิ วาวามีต้นกำเนิดจากพันธุ์เตชิชิ ซึ่งเป็นสุนัขพันธุ์เล็กของชนเผ่าอินเดียนแดงตอลเตคแถบอเมริกากลาง ในศตวรรษที่ 9 หรืออาจจะถูกนำเข้ามาในอเมริกากลางโดยชาวจีนหรือสเปน
ข้อควรระวังเป็นพิเศษ
ปัญหาสุขภาพของสายพันธ ุ์: โรคกระดูกสะบ้าเคลื่อน ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ


อันดับที่7ร็อตไวเลอร์



ลักษณะทั่วไป
สุ นัขพันธุ์ร็อตไวเลอร์ เป็นสุนัขขนาดกลางที่แข็งแรงและมีพละกำลังมาก จัดอยู่ในกลุ่ม working group มีขนสีดำปนลายสีน้ำตาลสนิมซึ่งสังเกตเห็นได้ชัด ลำตัวมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง กระชับ และได้สัดส่วน ทำให้มันเป็นสุนัขที่ทั้งแข็งแรง ว่องไว และทนทาน สุนัขตัวผู้จะตัวใหญ่กว่าและกระดูกหนักกว่าตัวเมีย ในสุนัขตัวเมียจะแสดงลักษณะของเพศเมียให้เห็นชัดเจน
ขนาดและสัดส่วน
สุนัข ตัวผู้ร่างกายมีขนาด 24-27 นิ้ว ในขณะที่ตัวเมียมีขนาด 22-25 นิ้ว นอกจากการมีขนาดร่างกายที่ได้มาตรฐานแล้ว การมีสัดส่วนที่สมดุลก็สำคัญเช่นกัน สุนัขพันธุ์ร็อตไวเลอร์ควรจะมีความยาววัดจากจมูกถึงปลายหางยาวกว่าส่วนสูง ของมันเล็กน้อยในอัตราส่วน 10 ต่อ 9 ร่องอกควรมีความลึกเป็นครึ่งหนึ่งของส่วนสูง กล้ามเนื้อและกระดูกต้องหนาแน่นและแข็งแรงเพื่อให้สมดุลกับรูปร่างที่กำยำ
ขน
ขน ชั้นนอกจะตรงและหยาบ ขึ้นอย่างหนาแน่น มีความยาวปานกลาง ขนชั้นในจะสังเกตเห็นได้ชัดที่ลำคอและต้นขา ความหนาแน่นของขนจะขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศด้วย ขนที่อยู่ชั้นในจะไม่โผล่ผ่านขนชั้นนอก บริเวณที่ขนสั้นที่สุดคือ ศีรษะ ใบหู และขา บริเวณที่ขนยาวที่คือบริเวณสะโพก
สี
สุ นัขร็อตไวเลอร์มีขนสีดำและมีลายสีน้ำตาลสนิมซึ่งลายจะตัดกับสีดำอย่างชัดเจน บริเวณที่มีลายสีน้ำตาลสนิมปรากฏได้แก่ - ที่จุดเหนือตาทั้งสองข้าง - แก้ม (เหมือนมีตะกร้อปากสีน้ำตาลหุ้มปากอยู่) แต่ลายสีน้ำตาลสนิมจะไม่ปกคลุมถึงดั้งจมูก - ลำคอ - ขาหน้า จะมีลายปกคลุมไปถึงนิ้วเท้า - ด้านในของขาหลังและแผ่กว้างมาถึงด้านหน้าตั้งแต่ข้อเท้าไปถึงนิ้วเท้า - บริเวณใต้หาง ขนชั้นในอาจมีสีเทา น้ำตาล หรือสีดำ บริเวณขนที่เป็นลายขนสีน้ำตาลสนิมไม่ควรมีเกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ของขนทั้งตัว
อุปนิสัย
โดย ปกติสุนัขพันธุ์นี้จะสุขุม มั่นใจและกล้าหาญ แต่มันจะไม่ค่อยทำตัวสนิทสนมกับผู้ที่มันไม่คุ้นเคย โดยในช่วงแรกอาจมีการสงวนท่าทีอยู่ห่างๆ มีสัญชาติญาณในการปกป้องบ้านและครอบครัว ฉลาดและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี เต็มใจทำงาน จึงเหมาะที่จะเลี้ยงมันไว้เป็นเพื่อนหรือเป็นผู้คุ้มครอง


อันดับที่8ยอร์คเชียร์ เทอร์เรีย


สุนัข ขนาดเล็ก ต้องการการดูแลขนเป็นพิเศษ ขี้เล่นและเป็นสุนัขเฝ้ายามที่ดี ส่วนสูง น้ำหนัก วงจรชีวิต การจัดกลุ่มพันธุ์ 7-9 นิ้ว 3-7 ปอนด์ 12-14 ปี สุนัขเลี้ยงไว้เป็นเพื่อน
ลักษณะเด่น
มี ขนยาว เรียบ ละเอียด เงา สลวยและเงางาม มีขนยาวที่หัว ซึ่งจะรวบหรือรัดด้วยโบว์ก็ได้ มีขนที่จมูกและปากยาว สีขนเป็นสีเงินออกน้ำเงินและสีทอง ลูกสุนัขเกิดใหม่จะมีสีน้ำตาลและสีดำ
นิสัย
ยอร์ค เชีย เทอร์เรียเป็นสุนัขขนาดจิ๋วที่ตื่นตัว กระฉับกระเฉง และชอบทำตัวเป็นพี่เบิ้ม ทำนองว่าตัวเล็กใจใหญ่ ชอบให้คนมาเอาใจ เข้ากับเด็กที่เรียบร้อยและมีอายุ 8 ปีขึ้นไปได้แต่ควรให้ได้คุ้นเคยกันตั้งแต่เล็ก มันจะเห่าบอกเจ้าของเมื่อมีคนมาหา
การตัดแต่งขนและการออกกำลังกาย
เจ้า ยอร์คเชียร์ควรได้รับการดูแลแปรงขนทุกวัน และเนื่องจากมันมีกิจกรรมคือวิ่งเล่นทั่วบ้านอยู่แล้ว จึงไม่ต้องพาไปวิ่งหรือเดินเล่นไกลๆ อีก
ถิ่นกำเนิด
มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ เลี้ยงไว้ไล่หนู
ข้อควรระวังเป็นพิเศษ
ควร ซื้อลูกสุนัขจากผู้เพาะพันธุ์ที่ไว้ใจได้ ปัญหาสุขภาพของสายพันธุ์ : โรคกระดูกสะบ้าเคลื่อน โรคไตวายตั้งแต่กำเนิด ปัญหาในช่องปาก และขนร่วง

อันดับที่9 ชิสุ 




สุนัขขนาดเล็ก ส่วนสูง น้ำหนัก วงจรชีวิต การจัดกลุ่มพันธุ์ 8-11 นิ้ว 9-16 ปอนด์ 12-14 ปี สุนัขที่เลี้ยงไว้เป็นเพื่อนลักษณะเด่นรูป ร่างหน้าตาของสุนัขลูกครึ่งจะมีจมูกยาวจนถึงจมูกเชิดและบาน มีโครงสร้างเล็ก บางตัวก็มีขายาวกว่าตัวอื่น สีขน ความสูง และโครงสร้างจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ผสมนิสัยสุนัข พันธุ์ผสมเช่น ชิสุผสมกับปักกิ่งผสม เป็นสุนัขที่ติดคนและต้องการความรักและเอาใจใส่มาก ชอบเที่ยวและอยากให้พาออกไปข้างนอก สุนัขเหล่านี้มักจะขี้ตกใจ แต่ฝึกง่าย ไม่เหมาะกับครอบครัวที่มีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และมันอาจจะกัดเด็กได้การตัดแต่งขนและการออกกำลังกาย ควร แปรงขนให้พันธุ์ที่มีขนยาวบ่อยๆ อาจจะมากกว่าหนึ่งครั้งต่อวันก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ พันธุ์ขนสั้นควรแปรงขนให้สัปดาห์ละครั้ง ตัวที่มีขายาวเป็นพันธุ์ผสมที่ได้มาจากดัลเมเชี่ยน และควรต้องได้รับการออกกำลังกายมากกว่าตัวที่มีขาสั้น



อันดับที่10 เชตแลนด์ ชีพด็อก




สุนัข ขนาดเล็ก ต้องการการดูแลขนเป็นพิเศษ สุนัขเฝ้ายามที่ดี ส่วนสูง น้ำหนัก วงจรชีวิต การจัดกลุ่มพันธุ์ 13-16 นิ้ว 14-18 ปอนด์ 12-14 ปี สุนัขต้อนฝูงสัตว์
ลักษณะเด่น
มี ขนยาว ตรง และหยาบ ขนชั้นในสั้น ปุกปุยและแน่น สีขนเป็นสีดำ สีทองอ่อนจนถึงสีน้ำตาลแก่ หรือสีน้ำเงิน โดยทุกสีจะมีแถบขนสีขาวหรือสีน้ำตาลแซม ขนที่หน้า ขา และใบหูจะเรียบ มีขนที่แผงคอดกและสวยงาม หางจะมีขนฟู หูเล็กและเกือบจะตั้งขึ้น
นิสัย
เป็น สุนัขที่ฉลาด ขี้ประจบ และฝึกง่าย มันเป็นสุนัขที่น่ารัก เข้ากับเด็กที่คุ้นเคยและเรียบร้อยได้ แต่อาจจะมีนิสัยชอบรังแกเด็กเล็กเพราะเข้าใจว่าเด็กเป็นแกะได้ ควรฝึกให้ใกล้ชิดกับคนอื่นตั้งแต่อายุยังน้อยเพื่อป้องกันไม่ให้มันมี พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
การตัดแต่งขนและการออกกำลังกาย
ควรแปรงและหวีขนให้มันทุกวันเนื่องจากขนจะพันกันได้ง่าย ควรตัดแต่งทุกๆ 3เดือน และพาไปเดินหรือเที่ยวเล่นทุกวัน
ถิ่นกำเนิด
สืบ เชื้อสายมาจากสุนัขพันธุ์บอร์เดอร์คอลลี่ และในราวศตวรรษที่ 18 พันธุ์บอร์เดอร์คอลลี่ได้ถูกผสมกับสุนัขพื้นเมืองที่มีขนาดเล็ก ฉลาด และมีขนยาวที่เกาะเชตแลนด์ จนกระทั่งได้เจ้าเชตแลนด์ที่มีขนาดเล็กในปัจจุบัน
ข้อควรระวังเป็นพิเศษ
สุนัข พันธุ์นี้ไม่ควรเลี้ยงในเมืองหรือคอนโด และควรซื้อลูกสุนัขจากผู้เพาะพันธุ์ที่มีชื่อเสียง ปัญหาสุขภาพของสายพันธุ์ : โรคผิดปกติทางสายตา รวมทั้งจอรับภาพเสื่อมเรื้อรัง โรคเลือดไม่แข็งตัว หูตึง โรคภูมิแพ้ทางผิวหนังและโรคขาดฮอร์โมนไทรอยด์

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

โรคลำไส้อักเสบ หรือ โรคติดเชื้อพาโวไวรัสสุนัข โรคร้ายคอยทำลายน้องหมา

มาทำความรู้จักกับโรคของน้องหมาที่สำคัญมากๆอีกโรคครับ คือ โรคลำไส้อักเสบ หรือ โรคติดเชื้อพาโวไวรัสสุนัขนั่นเองครับ เป็นปัญหาสำคัญมากๆสำหรับผู้ที่เลี้ยงสุนัข ซึ่งถ้าน้องหมาที่น่ารักของเราได้รับเชื้อนี้และเริ่มแสดงอาการแล้ว อาจทำให้น้องหมาเสียชีวิตได้ในเวลารวดเร็วครับ ซึ่งเกิดจากภาวะช็อคครับ ดังนั้นเราควรต้องทำความเข้าใจกับโรคนี้ให้ดีเลยครับ ซึ่งผมได้นำรายละเอียดการติดเชื้อโรคลำไส้อักเสบ อาการ การป้องกัน การรักษาโรคลำไส้อักเสบในสุนัขมาให้เพื่อนๆได้ศึกษากันครับ


โรคลำไส้อักเสบติดต่อ หรือการติดเชื้อพาโวไวรัสในสุนัขคือ

ตั้งแต่ปี 2521 หรือปี ค.ศ. 1978 มีรายงานพบว่าสุนัขทุกอายุ ทุกเพศและทุกพันธุ์สามารถเป็นไวรัสที่สามารถติดต่อที่รุนแรงที่ทำลายระบบทาง เดินอาหาร เม็ดเลือดขาว และในสุนัขบางตัวจะมีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดจากการติดเชื้อพาโวไวรัส (parvovirus: CPV)ปัจจุบันเรียกโรคนี้ว่า โรคติดเชื้อพาโวไวรัสในสุนัข หรือโรคลำไส้อักเสบติดต่อ (canine parvoviral infection) ซึ่งมีการระบาดทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย

การติดเชื้อพาโวไวรัสสามารถแพร่กระจายจากสุนัขตัวหนึ่ง ไปอีกตัวหนึ่ง การติดต่อมีโอกาสมากขึ้นเมื่อสุนัขไปอยู่รวมกันมาก เช่น ในงานประกวดสุนัข โรงเรียนฝึกสุนัข คอกผสม หรือร้านขายผลิตภัณฑ์ของสุนัข สนามเด็กเล่น หรือบริเวณอื่นๆ ที่เป์นที่อยู่ที่เล่น หรือแหล่งรวมสุนัขก็จะเป็นแหล่งที่ทำให้สุนัขปกติไปรับเชื้อมาจากการสัมผัส ได้

สุนัขที่เลี้ยงไว้ในบ้าน หรือไว้ในคอก ในสวนมีโอกาสที่จะสัมผัส หรือเล่นกับสุนัขตัวอื่นได้ยาก จะมีโอกาสที่จะสัมผัสติดเชื้อไวรัสได้ยาก การติดเชื้อพาโวไวรัสสามารถติดต่อได้กับสุนัขด้วยกัน หรือสัตว์ในตระกูลสุนัข โรคลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อพาโวไวรัสจะเกิดขึ้นเฉพาะแต่สุนัข หรือสัตว์ในตระกูลสุนัขเท่านั้น จะไม่ก่อให้เกิดโรคลำไส้ใน สัตว์ชนิดอื่นๆ หรือคน แต่สัตว์ชนิดอื่นๆ หรือคนสามารถที่จะเป็นพาหะนำเชื้อพาโวไวรัสมาติดกับสุนัขของตนเองได้

สุนัขสามารถติดเชื้อได้จากอุจจาระของสุนัขที่ป่วยเป็น โรค หรือของเหลวที่สุนัขป่วยอาเจียนออกมา ในอุจจาระของสัตว์ป่วยจะพบมีเชื้ออยู่จำนวนมาก พาโวไวรัสเป็นไวรัสที่มีความทนทานต่อสิ่งแวดล้อมมาก ไวรัสสามารถ มีชีวิตอยู่นอกตัวสัตว์ หรือในสิ่งแวดล้อมได้เป็นระยะเวลานาน ไวรัสสามารถแพร่กระจายจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งได้ด้วย การติดไปกับขน ผม หรือเท้าของสุนัขที่ป่วย หรือติดเชื้อ หรือเชื้อไวรัสอาจจะปนเปื้อนไปกับกรง รองเท้า หรือวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ

วิธีสังเกตุว่าน้องหมาของเราติดเชื้อพาโวไวรัสแล้ว ดังนี้ครับ

อาการเริ่มแรกของ สุนัขที่ติดเชื้อพาโวไวรัสคือ ซึม เบื่ออาหาร อาเจียนและท้องเสีย อย่างรุนแรง อุณหภูมิของร่างกายอาจจะสูงขึ้น อุณหภูมิของร่างกายที่วัดจากทวารหนักของสุนัข มีค่าประมาณ 101º - 102ºF อาการป่วยดังกล่าวมักจะปรากฎขึ้นภายหลังจากที่สุนัขได้รับเชื้อ ไวรัสได้ประมาณ 5-7 วัน ในระยะแรกของการติดเชื้อ(แสดงอาการแล้ว) อุจจาระของสุนัขจะมีลักษณะเหลวมีสีออกเทา หรือเหลืองเทา (yellow-gray) ในบางครั้งอาการแรกเริ่มสุนัขอาจจะถ่ายเหลวโดยมีเลือดปนออกมาได้

เมื่อสุนัขมีการถ่ายเหลว หรืออาเจียนอย่างรุนแรง ทำให้สุนัขสูญเสียน้ำและเกลือแร่ออกจากร่างกายอย่างรวดเร็ว สุนัขป่วยบางตัวจะมีอาการอาเจียนอย่างรุนแรงและถ่ายอุจจาระเป็นน้ำสีน้ำตาล จนถึงสีแดง(มีเลือดปน)พุ่งจนตายได้ ในสุนัขบางตัวอุจจาระอาจจะมีลักษณะเหลวเท่านั้นและสามารถฟื้นตัวจากการป่วย ได้ อาการป่วยมักพบว่า ลูกสุนัขจะแสดงอาการป่วยรุนแรงกว่าสุนัขโต

สุนัขมักจะตายภายใน 48-72 ชั่วโมงหลังจากที่เริ่มแสดงอาการ ลูกสุนัขมักจะตายด้วยภาวะช๊อค โดยมักจะเกิดขึ้นหลังการติดเชื้อประมาณ 1-2 วัน ในอดีตพบว่าลูกสุนัขอายุน้อยกว่า 5 เดือนมีอัตราการป่วยค่อนข้างสูงและประมาณ 2-3 เปอร์เซ็นต์จะตายจากการติดเชื้อนี้ ปัจจุบันเนื่องจากมีการฉีดวัคซีนกันอย่างแพร่หลาย อัตราการป่วยและอัตราการตายจากการติดเชื้อจึงลดลง เว้นแต่เจ้าของ สุนัขไม่ค่อยสนใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้กับสุนัขเป็นประจำ โอกาสป่วยเป็นโรคจึงมีมากขึ้น

ลูกสุนัขช่วงระหว่างหย่านม (1 เดือน)ถึงอายุ 6 เดือนเป็นช่วงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรค มีรายงานการศึกษาพบว่า สุนัขบางพันธุ์จะแสดงอาการป่วยที่มีความรุนแรงในบางสายพันธุ์ เช่น ร๊อตไวเลอร์ และโดเบอร์แมนพิ้นเชอร์

อาการป่วยของสุนัขที่ติดเชื้อพาโวไวรัสอีกรูปแบบหนึ่งนอกเหนือไปจากการแสดงอาการของล
ำไส้อักเสบ คือ การเกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ(myocarditis) ในลูกสุนัขที่มีอายุน้อยกว่า 3 เดือน ลูกสุนัขที่ป่วยในรูปแบบนี้มักจะไม่ แสดงอาการท้องเสีย เนื่องจากเชื้อไวรัสจะมีการเจริญ หรือแบ่งตัวอย่างรวดเร็วในกล้ามเนื้อหัวใจของลูกสุนัข

ลูกสุนัขที่มีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจอันเนื่องมา จากการติดเชื้อพาโวไวรัสจะมีอาการซึม ไม่ดูดนมเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะเสียชีวิต ยังไม่มีการรักษาใดที่จำเพาะต่อการติดเชื้อในรูปแบบนี้ ลูกสุนัขที่รอดชีวิตจากการติดเชื้อจะพบว่ามีความเสียหายของหัวใจ แต่ลูกสุนัขอาจจะจะตาย ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวหลังรอดจากการติดเชื้อในเวลาต่อมา(เป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน)
โรคลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัขสามารถวินิจฉัยและรักษาได้อย่างไร

การวินิจฉัยจะ อาศัยอาการทางคลินิก แต่ทั้งนี้ต้องแยกโรคให้ได้จากภาวะที่ทำให้สุนัข ท้องเสียและอาเจียนอื่นๆ แต่สิ่งที่อาจจะแสดงให้เห็นว่าสุนัขติดเชื้อพาโวไวรัสคือ การแพร่กระจายของโรคเป็นไปอย่างรวดเร็ว การตรวจวินิจฉัยยีนยันสามารถทำได้ด้วยการแยกเชื้อไวรัสจากอุจจาระ อย่างไรก็ตามยังไม่ยาชนิดใดที่จำเพาะที่ใช้ในการฆ่าเชื้อไวรัสชนิดนี้

การรักษาการโรคติดเชื้อพาโวไวรัสควรเริ่มทันทีเมื่อ วินิจฉัยว่าสัตว์แสดงอาการป่วย โดยเริ่มจากการให้สารน้ำเพื่อทดแทนภาวะการสูญเสียของเหลวและเกลือแร่ของร่าง กาย ควบคุมอาการอาเจียนและท้องเสียของสุนัขป่วยและป้องการติดเชื้อแทรกซ้อนด้วย การให้ยาปฏิชีวนะ

ควรให้ความอบอุ่นกับร่างกายของสุนัขป่วยและให้การดูแลอย่างใกล้ชิด.

มาดูการป้องกันโรคลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัขกันครับ

การป้องกันโรคลำ ไส้อักเสบจากการติดเชื้อพาโวไวรัสสามารถทำได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกัน โดยปกติในลูกสุนัขมักจะเริ่มต้นฉีดเมื่ออายุประมาณ 6-8 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะฉีดวัคซีนกระตุ้นอีกครั้งที่อายุประมาร 10-12 สัปดาห์(ห่างจากครั้งแรกประมาณ 1 เดือน) เพื่อให้มีระดับภูมิคุ้มกันสูงเพียงพอสำหรับการป้องกันโรค วัคซีนป้องกันโรคนี้มีทั้งแบบที่แยกเป็นวัคซีนชนิดนี้เพียงอย่างเดียว หรือรวมอยู่กับวัคซีนชนิดอื่น เช่น ไข้หัด ตับอักเสบ เลปโตสไปโรซิส หวัด เป็นต้น ซึ่งเรียกวัคซีนประเภทนี้ว่า วัคซีนรวม หลังจากนั้นจึงฉีดวัคซีนประจำทุกปี ซึ่งควรสอบถามสัตวแพทย์ถึงโปรแกรมการฉีดในลำดับต่อไปด้วย

กรณีที่สุนัขที่เลี้ยงเกิดป่วยติดเชื้อพาโวไวรัส ต้องทำความสะอาดบริเวณกรง หรือคอก หรือที่อยู่ของสุนัขป่วย เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ด้วยยาฆ่าเชื้อ พวกสารละลายโซเดียมไฮโดรคลอไรต์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของยาฆ่าเชื้อที่มีใช้อยู่ในบ้าน อยู่แล้ว(ยาทำความห้องน้ำ ครัว) อย่าลืมว่าเชื้อพาโวไวรัสนี้สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมได้เวลานาน เป็นเดือนๆ

เจ้าของสุนัขควรป้องกันไม่ให้สุนัขไปสัมผัสกับสิ่งขับ ถ่ายของสุนัขอื่นๆ เมื่อนำมันออกไปนอกบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุนัขที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือนควรระมัดระวังอย่างยิ่ง สิ่งปฏิกูล หรือสิ่งขับถ่ายของสุนัขควรกำจัดทิ้งให้เร็วที่สุดไม่ควรกัก หมักหมมไว้ ถ้าเป็นไปได้ควรตรวจสอบดูสิ่งขับถ่ายของสุนัขข้างบ้านด้วย และควรแนะนำให้ปฏิบัติตาม สุนัขจะได้ปลอดภัยไม่นำเชื้อมาให้กันและกัน

ถ้าไม่แน่ใจว่าสุนัขของเรากำลังจะป่วยด้วยการติดเชื้อพา โวไวรัส หรือโรคลำไส้อักเสบหรือไม่ ควร ปรึกษาสัตวแพทย์ การลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อพาโวไวรัสที่ดีที่สุดคือป้องกันสุนัขไม่ให้ไป สัมผัสกับสุนัขอื่นๆ โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการแพร่ระบาดของโรคนี้
คำแนะนำสำหรับการเลี้ยงดูให้สุนัขมีสุขภาพดี

สัตว์เลี้ยงที่มี สุขภาพดีจะเป็นสัตว์เลี้ยงที่เป็นเพื่อนที่มีความสุข เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสัตว์เลี้ยงของท่านมีชีวิตที่ดี เจ้าของสัตว์จะต้องให้ความใส่ใจในการดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างใกล้ชิดและควรทำ เป็นประจำ เพื่อลดโอกาสการป่วยชองสัตว์ ดังนั้นเจ้าของสุนัขควรปรึกษา หรือนำสัตว์ไปพบสัตวแพทย์ เมื่อพบว่า สุนัขมีอาการต่างๆ เหล่านี้

* พบมีสิ่งคัดหลั่งที่ผิดปกติออกจากจมูก ตา หรือช่องเปิดอื่นๆของร่างกาย
* สัตว์เลี้ยงไม่กินอาหาร มีน้ำหนักลดลง หรือกินน้ำมากขึ้นกว่าปกติ
* ขับถ่ายลำบาก หรือผิดปกติ หรือไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้
* พบมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ หรือพบมีความดุร้ายขึ้นอย่างกระทันหัน หรืออ่อนเพลีย
* พบมีก้อนผิดปกติ เดินกระโผลกกระเผลก ลุกหรือนอนลำบาก
* มีการสั่นหัวมากผิดปกติ เกา หรือเลีย หรือกัดแทะตามลำตัวมากผิดปกติ

ลูกสุนัขที่ติดเชื้อพาโวไวรัสที่ทำให้มีการอักเสบ ของกล้ามเนื้อหัวใจมักจะมีอาการซึมและไม่ยอมดูดนมและตายอย่างรวดเร็ว ลูกสุนัขบางตัวอาจตายในอีกหลายวันต่อมา การติดเชื้อในลักษณะนี้ ยังไม่มีวิธีการรักษาที่จำเพาะ ลูกสุนัขที่รอดชีวิตจะพบมีความเสียหายของหัวใจบางส่วน(ถาวร) ลูกสุนัขบางตัวอาจจะ ตายด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวในอีกหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนต่อมา หลังจากที่หายป่วย

ที่มา thaipom.com

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

โรคหัดสุนัข ภัยอันตรายสำหรับน้องหมาที่อายุน้อยๆ วิธีการสังเกตุและการรักษาโรคหัดสุนัข

วันนี้ผมนำความรู้เกี่ยวกับภัยอันตรายสำหรับน้องหมาที่ยังอายุน้อยๆครับ ภัยที่ว่านั่นก็คือ ไข้หัดสุนัข ที่จะเกิดกับลูกหมาครับ ซึ่งมีความอ้นตรายมากๆ เพราะฉนั้นใครที่เลี้ยงสุนัขโปรดสังเกตุอาการต่างดังต่อไปนี้ครับ และรักษาป้องกันครับ ถ้าไม่อยากให้น้องหมาของเราจากไปก่อนเวลาอันสมควรครับ

ไข้หัด ภัยร้ายสำหรับลูกหมา

โรคไข้หัดสุนัขหรือที่เรียกว่า Canine Distemper (CD) เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หัดสุนัข Canin Distemper Virus (CDV) ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Morbillivirus ทำให้เกิดโรคได้ในสุนัขและสัตว์อื่นที่อยู่ในตระกูลเดียวกันกับ สุนัข เช่น สุนัขป่า มิ้งค์ สกั๊งค์ แรคคูณและ เฟอร์เร็ท ซึ่งสัตว์เหล่านี้มักจะเป็นตัวพาหะนำโรคมาสู่สุนัขบ้าน

ไข้หัดสุนัข เป็นโรคติดเชื้อที่พบอาการได้ทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง ทั้งในระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท และผิวหนัง โดยการเกิดโรคมักจะรุนแรง อัตราการตายสูง โดยเฉพาะในลูกสุนัขอายุระหว่าง 6-12 สัปดาห์ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีความไวต่อไวรัสชนิดนี้

สาเหตุของโรค

ไข้หัดสุนัขเกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Morbillivirus ซึ่งเป็น RNA virus เชื้อจะถูกทำลายได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน แสงแดด อากาศแห้ง และน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในกลุ่มอีเทร์ ฟีนอล คลอโรฟอร์ม และคลอไรด์

การติดเชื้อ

การติดเชื้อไข้หัดสุนัข ที่สำคัญมากที่สุดคือ การหายใจเอาเชื้อที่ปะปนในอากาศเข้าไป นอกจากนั้นยังพบว่าสามารถติดต่อ ได้จากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย น้ำตา หรือสิ่งคัดหลั่งอื่นๆ โดยตรง แต่ยังไม่มีรายงานว่าสามารถติดต่อได้โดยการกิน หลังจากสุนัขได้ รับเชื้อเข้าไปในร่างกายแล้ว เชื้อไวรัสจะเข้าไปฟักตัวอยู่ที่ทอนซิล และต่อมน้ำเหลืองในบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น

ระยะฟักตัวของโรคในสุนัขเฉลี่ยประมาณ 7-14 วัน โดยในระยะนี้เราอาจไม่พบความผิดปกติต่อตัวสุนัข หลังจากนั้นก็จะมีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไปทั่วร่างกาย โดยผ่านทางเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ (Iymphocyte) โมโนไซด์ (Monocyte) รวมทั้งแมกโครฟาจ์ (Macrophage) ทำให้เกิดการติดเชือในระบบน้ำเหลือง และกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ง่าย รวมทั้งตัวไวรัสเองเข้าทำลายเซลล์เยื่อบุต่าง ๆ ของร่างกายจึงมักพบว่าสุนัขป่วย มักจะติดเชื้อได้หลายๆ ระบบร่วมกัน เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบผิวหนัว และระบบประสาท



ลักษณะอาการของโรคไข้หัดสุนัข น้องหมาจะมีอาการดังนี้ครับ

1. มีไข้สูง ซึม อ่อนแรง เบื่ออาหาร พบได้ในระยะแรกที่มีการฟักตัวของโรค

2. ระบบทางเดินหายใจ พบน้ำมูก น้ำตาไหล ไอ จาม หายใจลำบาก ถ้าพบว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน น้ำมูกน้ำตาที่พบก็จะมีลักษณะขุ่นข้น

3. ระบบทางเดินอาหาร มักจะพบว่าสุนัขมีอาเจียน และท้องเสีย แต่อาการจะไม่รุนแรงเหมือนการติดเชื้อลำไส้อักเสบ

4. ระบบผิวหนัง พบว่าสุนัขจะมีตุ่มหนองกระจายตามตัว โดยจะพบมากบริเวณใต้ท้อง นอกจากนั้นในสุนัขที่มีการติดเชื้อแบบเรื้อรังจะพบว่ าผิวหนังบร ิเวณอุ้งเท้าจะหนาตัวขึ้นมากกว่าปกติ (hard pad)

5. ระบบประสาท เมื่อเชื้อไวรัสกระจายเข้าสู่ก้านสมองและสมอง สุนัขจะไม่รู้สึกตัว ชัก กระตุม ควบคุมการเคลื่อนไหวของตัวเองไม่ได้ อาการที่พบบ่อย ๆ คือสุนัขจะเกร็ง งับปาก (gum chewing)

สำหรับการวินิจฉัยโรคไข้หัดสุนัข ในน้องหมา

1. ประวัติ และอาการของสัตว์ป่วย

2. ตรวจเลือด ดูภาวะติดเชื้อไวรัสในกระแสเลือด ซึ่งเป็นการตรวจที่ไม่เฉพาะเจาะจง และอ่านผลเลือดได้ไม่แน่นอน

3. การตรวจทางเซลล์วิทยา ย้อมสีดู Inclusion body ซึ่งมีความแม่นยำน้อย และไม่นิยมในปัจจุบัน

4. การตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันหรือแอนตี้บอดี้ของร่างกายที่มีต่อเชื้อไวรัส แต่การแปรผลอาจจะผิดพลาด ถ้าหากว่าสุนัขมีภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดมาจากแม่ หรือได้รับภูมิคุ้มกันจากการทำวัคซีน

5. การตรวจหาเชื้อไวรัสโดยตรงในกระแสเลือด น้ำมูก น้ำตา และสิ่งคัดหลั่งต่างๆ วิธีนี้จะมีความแม่นยำสูงเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน และมีค่าใช้จ่ายสูง

สำหรับการรักษา หากน้องหมาเป็นไข้หัดสุนัข

สำหรับตอนนี้ยังไม่มียาต้านไวรัสชนิดใดที่จะใช้ในการรักษาโรคไข้หัดสุนัขได้ ผล การรักษาจะเป็นการรักษาตามอาการและป้องกันการติดเชื้ อแทรกซ้อน ดังนี้คือ

1. ให้ยาปฎิชีวนะ ควบคุมการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน

2. ให้น้ำเกลือ และสารอาหารเข้าทางหลอดเลือดดำ เพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำและสารอาหาร

3. ให้ออกซิเจนในกรณีที่สุนัขมีอาการหายใจลำบาก ขาดออกซิเจนเนื่องจากเกิดปอดบวม (pheumonia)

4. ให้ยาสงบประสาท หรือยาแก้ชัดในกรณีที่สุนัขมีอาการทางประสาทเนื่องจา กเชื้อไวรั สเข้าสู่สมอง

และนี้เป็นวิธีการป้องกันครับ

1. แยกเลี้ยงสุนัขที่ไม่ทราบประวัติวัคซีนประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนนำมาเข้ากลุ่ม

2. ให้วัคซีนในลูกสุนัข โดยลูกสุนัขในกลุ่มเสี่ยงต่อการติเชื้อไข้หัดสุนัข สามารถทำวัคซีนนได้ตั้งแต่อายุ 1 1/2 เดือน ส่วนลูกสุนัขโดยทั่วไปจะทำวัคซีนได้ในอายุ 2 เดือน หลังจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ควรฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำเพื่อให้ระดับภูมิคุ้ม กันสูงพอที่จะป้องกันโรคได้ หลังจากนั้นควรจะทำวัคซีนไข้หัดสุนัขซ้ำทุกๆ ปี โดยในปัจจุบันได้มีการพัฒนานำวัคซีนไข้หัดสุขไปรวมกับวัคซีนป้องกันโรคชนิดอื่นๆ เช่น ลำไส้อักเสบ ตับอักเสบ เลปโตสไปโรซิส หวัด-หลอดลมอักเสบติดต่อ และพิษสุนัขบ้า เพื่อความสะดวก และจดจำง่าย
ที่มา kapook.com

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

มาดูวิธีจัดการ น้องหมาชอบหอนกันครับ

มาดูวิธีจัดการ น้องหมาชอบหอน

น้องหมาใครที่เคยเป็นบ้างครับ เป็นนักหอนตัวยงเลย ยังกับนักร้องเสียงดีอะไรประมาณเนี๊ยะ แต่มันคงไม่ดีสำหรับเพื่อนบ้านที่อยู่บ้านข้างเรือนเคียงสักเท่าไรครับ ซึ่งผมเอาเคล็ดลับในการลดการหอนของน้องหมามาให้ลองนำไปใช้กันครับ ซึ่งเป็นการใช้หัวใจในการจัดการกับ สถานการณ์ ทำความเข้าใจว่าทำไมน้องหมาถึงหอน ซึ่งสาเหตุหลัก ก็เกิดมาจาก

ความเหงา สุนัขที่ถูกปล่อยให้อยู่บ้านตัวเดียวนานๆ ชอบที่จะหอนเพราะเขารู้สึกกลัว
สภาพแวดล้อม เจ้าตูบอาจจะหอนเพราะว่าคุณสอนเขาโดยไม่รู้ตัว เช่น เมื่อเขาหอนคุณก็ให้ขนมกับเขา ทำบ่อย ๆ ครั้งน้องหมาก็จะติดเป็นนิสัย หรือเมื่อสุนัขหอนแล้ว คุณปล่อยให้เขาออกไปวิ่ง เขาก็จะทำแบบเดิมอีกเมื่ออยากได้อะไร

ไม่ได้ออกกำลัง การที่สุนัขไม่ได้ออกกำลังกาย ทำให้น้องหมามีพลังงานเหลือเฟือ และเลือกที่จะเผาพลังงานไปกับการส่งเสียงหอน ถ้าน้องหมาไม่ได้รับการออกกำลังกายบ่อย เขาก็จะหลับมากกว่าหอน

เราจะมีวิธีจัดการกับน้องหมาชอบหอนได้ยังไง

1. พาเขาออกไปเดินเล่นอย่างน้อย ๆ 20 นาทีต่อวัน หรือพาเขาออกไปวิ่งเล่นเกม สุนัขที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ในสวนหลังบ้าน หรือใช้เวลาในบ้านมาก ต้องการการออกกำลังกายมากเป็นพิเศษ

2. พาเขาไปสวนสาธารณะเป็นประจำ อย่างน้อย ๆ สัปดาห์ละครั้ง และให้เขาได้เจอกับเพื่อนสุนัขด้วยกัน เพื่อให้เขารู้จักการเข้าสังคม

3. หาอะไรให้น้องหมาทำยามที่เขาบ้านคนเดียว แทนที่จะมัวแต่หอน คุณก็ควรจะหาอะไรให้น้องหมายุ่งเข้าไว้ เช่นการนำขนมไปซ่อนตามที่ต่าง ๆ หาของเล่นให้เขาเล่น หรือหาอะไรที่เจ้าตูบของคุณชอบมาดึงความสนใจของเขา

4. เมื่อน้องหมาหอน คุณต้องทำให้เขาหยุดด้วยการดึงความสนใจของเขา เช่น การนำของที่เขาชอบมาหลอกล่อ หรือนำของเล่นที่ส่งเสียงได้มาเขย่า และเมื่อสุนัขหยุดหอนก็มอบขนมเป็นรางวัล ให้เขารู้ว่าการไม่หอนถือเป็นสิ่งที่ควรทำ

5. สอนเรื่องคำสั่ง ”เงียบ” ทุกครั้งที่น้องหมาหอน คุณต้องออกคำสั่งว่า “เงียบ” หรือ “อย่าหอน” ลองถือขนมไว้ตรงจมูกของเขา ซึ่งสุนัขส่วนใหญ่จะหยุดหอนทันที เพราะว่าพวกเขาไม่สามารถดมกลิ่นขนมกับหอนไปพร้อม ๆ กันได้ในคราวเดียวกัน ให้ของรางวัลเมื่อเขาหยุดหอนได้ 3 วินาที และทำซ้ำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ยืดเวลาในการให้ขนมกับเขาให้นานขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละครั้ง หรือคุณอาจจะดัดแปลงสอนให้เขาหอนยามที่จำเป็นจริง ๆ ก็ได้ เพราะสุนัขที่เงียบอยู่ตลอดเวลาก็ไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก หอนได้แต่ต้องพอเหมาะพอควร

ก็ลองนำไปใช้กับน้องหมาดูกันนะครับ จะได้ไม่ต้องมากังวลความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านกันอีกครับ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

เบื่อไม๊กับน้องหมาที่ อึ ฉี่ไม่เป็นที่เป็นทาง มาดู 10 ขั้นตอนฝึกน้องหมาให้ขับถ่าย เป็นที่เป็นทาง

ซึ่งปัญหาเหล่านี้เราสามารถที่จะทุเลาหรือแก้ไขได้ครับ ด้วยการฝึกน้องหมาของเราให้ อึ ฉี่ อย่างเป็นที่เป็นทาง เป็นเวลา ซึ่งผมได้นำวิธีฝึกน้องหมามาให้ได้ศึกษากันครับ ลองนำไปฝึกน้องหมาสุดที่รักดูครับ

การขับถ่ายของน้องหมา เช่น อุจจาระ หรือปัสสาวะนั้น ถือว่าเป็นปัญหาถ้าเราเลี้ยงสุนัขอยู่นอกบ้าน ซึ่งสุนัขก็จะไปถ่ายตามสนามหญ้า หรือพื้นถนนนอกตัวบ้าน ซึ่งจะไม่ทำให้ส่งกลิ่นเหม็น แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เรานำสุนัขมาเลี้ยงในบ้านแล้ว สุนัขดันอึฉี่ในบ้าน ก็จะทำให้บ้านเลอะเทอะและส่งกลิ่นเหม็นรบกวนครับ

ขั้นตอนการฝึกสุนัขให้ขับถ่ายเป็นที่เป็นทาง

ขั้นตอนที่ 1 เริ่มต้นฝึกที่อายุพอเหมาะ

อายุที่เหมาะสมที่สุดในการฝึกลูกสุนัขให้ขับถ่ายเป็นที่เป็นทางนั้น ควรเริ่มต้นที่อายุ 7 ½ ถึง 8 ½ สัปดาห์ เพราะในช่วงนี้เป็นช่วงที่เราสามารถสอนให้ลูกสุนัขรู้จักที่ ๆ ควรขับถ่ายได้เป็นอย่างดี เพราะพอผ่านพ้นช่วงนี้ไปแล้ว ลูกสุนัขจะมีที่เฉพาะส่วนตั๊ว ส่วนตัวในการขับถ่ายของเขาแล้ว ทำให้การฝึกยากขึ้น เพราะต้องไปเปลี่ยนที่ขับถ่ายใหม่

แต่ก็ไม่ต้องกังวลนะครับ ถ้าหากท่านมีสุนัขเลี้ยงอายุเกินกว่านี้ เพราะอย่างไรก็ตามน้องหมาของเราก็ยังสามารถฝึกขับถ่ายเป็นที่เป็นที่เป็นทางได้ เพียงแต่ใช้เวลามากขึ้นเล็กน้อยเท่านั้น

ขั้นตอนที่ 2 พาไปอึฉี่นอกบ้านวันละ 6-8 หน

ขั้นตอนนี้เริ่มที่เราต้องเลือกทำเลหรือโลเกชั่นในการขับถ่ายหรือเรียกง่าย ๆ ว่า “ส้วมสุนัขที่ชอบ ๆ “ ก่อน จากนั้นก็ถึง “ช่วงนาทีทอง” ในการพาน้องหมาไปขับถ่ายในแต่ละช่วงกิจกรรมที่สุนัขมักจะนิยมขับถ่าย หลังจาก กิจกรรมเหล่านี้

ทันทีที่ตื่นนอน
หลังจากเลิกเล่น
15 – 30 นาทีหลังกินข้าว
หากเราพาลูกสุนัขไปขับถ่ายบริเวณเดิมซ้ำกันทุกวัน กลิ่นขับถ่ายเดิม ๆ ก็จะช่วยกระตุ้นสุนัขให้อึฉี่ พบว่าสุนัขส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 15-20 นาทีในการเดินวน และดมกลิ่นรอบ ๆ ที่ขับถ่ายนั้น เราจะต้องอยู่กับสุนัขของเราตลอดเวลาด้วย ซึ่งหากเราปล่อยให้ลูกสุนัขกลับเข้าบ้านเร็วเกินไป ก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาอึฉี่ไม่เป็นที่เป็นทางตามมา

และที่สำคัญ ที่เราจะต้องจดจำก็คือ ระหว่างรอที่จะขับถ่ายนั้น ต้องพยายามทำให้ลูกสุนัขจดจ่ออยู่กับภาระกิจขับถ่ายอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งนั่นก็คือเราจะต้องไม่เล่นกับน้องหมาเด็ดขาด จนกว่าสุนัขจะปฏิบัติการขับถ่ายแล้วเสร็จ

ขั้นตอนที่ 3 ใช้คำสั่งกำกับการขับถ่าย

ถ้าหากเราออกคำสั่ง หรือพูดจากับสุนัขด้วยวลีซ้ำ ๆ กัน เช่น “เข้าส้วม” หรือ “ไปถ่าย” หรือ “ทำธุระ” ฯลฯ ทุกครั้งที่พาลูกสุนัขไปขับถ่ายนอกบ้าน ลูกสุนัขก็จะเรียนรู้ว่า คำสั่งนี้หมายถึง “ถูกที่และถูกเวลาแล้วในการอึหรือฉี่”

ขั้นตอนที่ 4 ให้รางวัลทันทีที่อึฉี่เสร็จ

เราควรให้รางวัลลูกสุนัขทันทีที่ทำธุระเสร็จนอกบ้าน ซึ่งรางวัลทั้งหลายได้แก่ คำชม, ขนมขบเคี้ยวของสุนัข หรือของเล่น ซึ่งจะต้องระมัดระวังมากในการให้รางวัลหลังอึฉี่ เพราะถ้าหากเราไปให้รางวัลแก่ลูกสุนัขที่อึฉี่เสร็จแล้ว หลังจากพาเข้าบ้าน ลูกสุนัขก็จะเข้าใจผิดคิดว่า “การเข้าบ้าน” แปลว่า “ได้รางวัล” เลยหันมาอึฉี่ในบ้านแทน เพราะคิดว่าจะได้รับรางวัล ดังนั้นจะต้องจำให้ขึ้นใจว่า “ต้องให้รางวัลทันทีที่อึฉี่ในจุดที่ต้องการเท่านั้น !”

ขั้นตอนที่ 5 เฝ้าระวังการขับถ่ายภายในบ้าน

เราควรเฝ้าระวังลูกสุนัขของเรามิให้ขับถ่ายภายในบ้าน ด้วยการพยายามสังเกตดูว่า หากลูกสุนัขทำท่ากังลังจะขับถ่าย เช่น การเดินวน ๆ และดมกลิ่น ฯลฯ ก็ให้รีบพาไปจุดขับถ่ายนอกบ้านทันที

ขั้นตอนที่ 6 เอาไว้ในกรงเวลาเจ้าของไม่อยู่ด้วย

เมื่อเราไม่สามารถเฝ้าระวังการขับถ่ายของลูกสุนัขภายในบ้านได้ เช่น มีธุระปะปังต้องไปนอกบ้าน ก็ควรนำลูกสุนัขไปไว้ในกรงแทน ซึ่งควรจัดแบ่งพื้นที่แยกเป็นสัดส่วนให้ชัดเจนระหว่างที่นอนกับที่อึฉี่

ข้อสำคัญคือ เราจะต้องนำลูกสุนัขออกมาอยู่นอกกรงทุก ๆ 4 ชั่วโมง เนื่องจากกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ของลูกสุนัขมีความจุเล็กกว่าสุนัขโต จึงไม่สามารถอั้นอึฉี่ได้นานเท่าสุนัขโต

ขั้นตอนที่ 7 ห้ามทำโทษถ้ามาเห็นกองอึฉี่ที่ทิ้งไว้

ในกรณีที่ลูกสุนัขของเราเกิดอั้นฉี่ไม่ไหวเลยอึฉี่ทิ้งไว้ในตัวบ้านให้ดูต่างหน้า แล้วเรากลับมาเห็นเจ้าสิ่งปฏิกูลเข้า ก็ให้บังเกิดโทสะเรียกลูกสุนัขมาทำโทษ ก็จะไม่เป็นผลดีเลย เพราะมันไม่ช่วยให้สุนัขอึฉี่นอกบ้านได้ และแถมยังให้ลูกสุนัขคิดว่า “การวิ่งมาหาเจ้าของ” แปลว่า “จะถูกทำโทษ” เลยจะไม่อยากมาหาเราอีกในครั้งต่อไป เพราะกลัวจะถูกทำโทษอีก

วิธีแก้ไขก็คือ เมื่ออึฉี่ไปแล้วก็แล้วไป หันมาฝึกต่อไป โดยเมื่อเห็นลูกสุนัขทำท่าทำทางจะอึฉี่ในบ้านอีก ก็ให้ออกคำสั่งดัง ๆ ว่า “ไปข้างนอก !” หรือเขย่ากระป๋องดัง ๆ เพื่อให้ลูกสุนัขหยุดพฤติกรรมเตรียมอึฉี่ทันที แล้วรีบพาไปจุดขับถ่ายนอกบ้านในบัด Now !

ขั้นตอนที่ 8 ห้ามตั้งอาหารทิ้งไว้ให้กินทั้งวัน

เราจะต้องสร้างนิสัยการกินอาหารของลูกสุนัขของเราเสียใหม่ โดยให้กินเวลาเดียวกันทุกวัน และให้เวลากินอาหารเพียง 20 นาที แล้วให้เก็บชามอาหารทันที ซึ่งวิธีเหล่านี้จะช่วยสร้างนิสัยการกินเป็นเวลา และนั่นก็เท่ากับฝึกนิสัยขับถ่ายเป็นเวลาไปด้วย

ขั้นตอนที่ 9 เก็บกวาดอึฉี่ในบ้านให้หมดสิ้น

จากความจริงที่ว่า สุนัขมักนิยมอึฉี่ในบริเวณที่มีกลิ่นและคาบอึฉี่เดิม ๆ อยู่ ดังนั้นหากสุนัขเราเกิดพลั้งเผลอไปอึฉี่ในบ้าน เราจึงจำเป็นที่จะกำจัดคราบและกลิ่นอึฉี่ออกให้หมด และจะต้องเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เหมาะสม และจะต้องไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงด้วย

ขั้นตอนที่ 10 ฝึกขับถ่ายให้น้องหมาอย่างแน่วแน่

ขอให้เชื่อมั่นว่า ถ้าเราเริ่มฝึกตามขั้นตอนที่ 1 คือ เริ่มที่อายุ 7 ½ - 8 ½ สัปดาห์ ลูกสุนัขทั่ว ๆ ไป ก็จะสามารถอึฉี่เป็นที่เป็นทาง เมื่อตอนที่น้องหมาอายุ 140 -20 สัปดาห์ หรือ 3 ½ - 5 เดือน นั่นคือใช้เวลาฝึกประมาณ 7 -14 สัปดาห์

ในกรณีที่น้องหมาของเรายังขับถ่ายไม่เป็นที่เป็นทาง หรือยังอึฉี่ในบ้านอยู่อีกก็อาจมีปัญหาที่ซ่อนเร้นอื่น ๆ เช่นปัญหาด้านสุขภาพ หรือปัญหาจิตใจบางประการ ก็ขอให้ปรึกษาสัตว์แพทย์นะครับ

ที่มา : สื่อรักสัตว์เลี้ยง

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

รู้หรือไม่ว่าเวลาน้องหมาเห่านั้นมีความหมายว่าอย่างไรบ้าง

รู้หรือไม่ว่าเวลาน้องหมาเห่านั้นมีความหมายว่าอย่างไรบ้าง เวลาที่น้องหมาเค้าเ่ห่านั้นมันมีความหมายครับ จึงมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านพฤติกรรมของสุนัข และ ความหมายของเสียงเห่าแต่ละชนิดออกไว้ให้สำหรับคนที่เลี้ยงสุนัขได้ศึกษาทำความเข้าใจกับน้องหมาของเรากัน

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพฤติกรรมของสุนัขแยกประเภทและความหมายของเสียงเห่าแต่ละชนิดไว้ดังนี้

เห่าติดต่อกันเป็นชุด ๆ 3-4 ครั้งโดยมีช่วงหยุดระหว่างชุด
ความหมาย...เป็นการเชิญชวนของสุนัขให้ “มาดูอะไรที่น่าสนใจตรงนี้กันเถอะ”

เห่าเร็ว ๆ ติดต่อกันด้วยโทนเสียงปานกลาง
ความหมาย...การเตือนภัยของสุนัขว่า “มีสิ่งไม่น่าไว้วางใจใกล้เข้ามา”

เห่าด้วยเสียงต่ำ ๆ ติดต่อกันอย่างช้า ๆ
ความหมาย...กำลังมีภัยประชิดตัว

เห่าแล้วหยุด เห่าแล้วหยุด ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ
ความหมาย...สุนัขกำลังเหงา

เห่าสั้น ๆ ครั้งสองครั้ง
ความหมาย...การทักทายตามปกติของสุนัข

เห่าครั้งเดียวสั้น ๆ เมื่อคุณหรือสุนัขอีกตัวกำลังยุ่งอยู่กับเขา
ความหมาย...เขากำลังรำคาญและพยายามบอกคุณว่า “หยุดซะทีเถอะ”

ลูกสุนัขเห่าติดต่อกัน
ความหมาย...เป็นการเรียกร้องความสนใจ

เห่าครั้งเดียวสั้น ๆ เป็นการเรียกเจ้าของ
ความหมาย...เขาต้องการขับถ่ายหรือถึงเวลาให้อาหารแล้ว

เห่าติด ๆ กันรัวและดังขึ้นเรื่อย ๆ
ความหมาย...บ่งบอกถึงความตื่นเต้นสนุกสนานกับอะไรบางอย่าง
http://www.yespetshop.com/

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

รู้หรือไม่ อาหารของคนบางอย่างน้องหมากินไปแล้วอันตรายถึงตาย

รู้หรือไม่ อาหารของคนบางอย่างน้องหมากินไปแล้วอันตรายถึงตาย สำหรับใครที่รักน้องหมา แล้วกินอะไรก็จะให้น้องหมาได้กินด้วยนั้น รู้หรือไม่ครับ ว่าอาหารบางอย่างน้องหมากินเข้าไปอาจถึงตายได้เลยครับ วันนี้ลองมาศึกษากันดูครับ

ภัยร้ายจากอาหาร ที่ไม่อันตรายมากๆกับน้องหมาที่น่ารัก

อาหารสำหรับมนุษย์ บางอย่าง กลับมีอันตรายร้ายแรงกับน้องหมาของเรา คราวนี้เราลองมาดูกันว่ามีอาหารอะไรบ้างที่น้องหมาเรากินไปแล้วจะเกิดอันตราย

Chocolate อาหารอันตรายขั้นร้ายแรง ซึ่งจะมีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต อาจทำให้สุนัขหัวใจวายตายได้เลยทีเดียว

Bones กระดูก เป็นสิ่งที่ไม่ควรให้สุนัขกินลงไป เพราะกระดูกเมื่อถูกเคี้ยวจนแตก มันจะยังมีส่วนแหลมคม อาจทำร้ายกระเพาะและลำไส้สุนัขได้ ทั้งนี้ยังรวมถึงเชื้อโรคต่างๆ นาๆ จากอาหารที่ยังไม่สุขอีกด้วย!

Liver ตับ เนื่องจากในตับ มีวิตามิน A สูงมาก ถ้ากินแต่พอดีก็ยังมีประโยชน์ แต่ถ้ามากไป อาจทำให้กระดูกของสุนัขมีปัญหาได้

Raw meat and Pautry เนื้อที่ยังไม่สุก อุดมไปด้วยแบคทีเรียที่จะเป็นอันตราย

Raw eggs ในไข่ดิบ มีแบคทีเรียที่จะทำให้การเจริญเติบโตผิดปกติ

Onion หัวหอม มีฤทธิ์ทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้มีการนำ oxygen เข้าสู่ร่างกายสุนัขได้น้อยลง ไม่พอต่อความต้องการ

Milk นม เนื่องจากในนมจะมี Lactose ที่ในสุนัขบางตัวอาจไม่มีเอ็นไซม์ที่ช่วยย่อยได้ แต่ไม่ใช่กับทุกตัวนะ อาจเป็นแค่บางตัวที่เป็น ฉะนั้นสังเกตดีๆ

Pork หมู เรื่องหมูที่ไม่หมูถ้าให้สุนัขรับประทานเนื้อหมูมากเกินไป เพราะในเนื้อหมูมีไขมันสะสมสูงมาก อาจทำให้เกิดการ เส้นเลือดอุดตัน

Mushroom เห็ด ไม่เป็นอันตรายต่อสุนัข แต่ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้สุนัขกิน เพราะถ้าสุนัขเคยชินกับรส และกลิ่นของเห็ด เมื่อสุนัขออกไปเจอเห็ดมีพิษที่ขึ้นตามสนามหญ้า หรือสวนสาธารณะ และไปกินเข้า อาจทำให้สุนัขกินเห็ดมีพิษได้
http://www.yespetshop.com/

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

อาการคันและโรคภูมิแพ้ และปัญหาผิวหนังสุนัขที่พบกันบ่อยๆในน้องหมา

วันนี้ำนำความรู้เรื่องของอาการคันและโรคภูมิแพ้ และปัญหาผิวหนังสุนัขที่พบกันบ่อยๆ มาให้ได้ศึกษาเพื่อนำไปดูแลน้องหมาของเรากันครับ

สำหรับอาการคันในสุนัขนั้นจะดูได้จากการที่สุนัขใช้ขาหลังเกา นอนเลียบริเวณที่คันหงายหลังดิ้นไถลไปมา จนถึงกัดแทะตามตัวจึงเกิดบาดแผล

สาเหตุที่ที่ทำให้น้องหมาของเรามีอากาคันเรื้อรังนั้น เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 สาเหตุ
1 พยาธิภายนอก เช่น หมัด เห็บ เหา และไร อื่นๆ
2 โรคภูมิแพ้

บรรดาพยาธิภายนอกที่ทำให้น้องหมาคันเรื้อรังก็คือ หมัดและขี้เรื้อนแห้ง ซึ่งการรักษาก็ต้องกำจัดตัวพยาธิเหล่านี้ให้หมดไปจากตัวสุนัขอาการคันถึงจะทุเลาไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมหมัดนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเจ้าหมัดนี้นอกจากทำให้คันแล้วยังส่งผลถึงปัญหาภูมิแพ้ของน้องหมาอีกด้วย

กลุ่มที่สองโรคภูมิแพ้ (Allergyl )
โรคภูมิแพ้นั้นเป็นโรคที่เกิดจากปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งแปลกปลอมภายนอกไวกว่าปกติ พบได้ถึงร้อยละ 15 ของสุนัขปกติซึ่งถือเป็นความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งเป็นโรคเฉพาะตัว ตัวหนึ่งแพ้อีกตัวหนึ่งไม่แพ้ก็ได้ในคนนั้นโรคภูมิแพ้มักมีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจ เช่น มีอาการ คัดจมูจ น้ำมูกน้ำตาไหล จาม แต่โรคภูมิแพ้ในสุนัขนั้นส่วนใหญ่มักจะมีอาการทางโรคผิงหนัง ซึ่งจะทำให้ผิวหนังอักเสบ แดง คัน และขนร่วง โดยพบได้ที่ผิวหนังสุนัขและใบหู

โรคภูมิแพ้ในสุนัขที่สำคัญ ได้แก่

โรคภูมิแพ้น้ำลายหมัด (Flea Allergic Dermatitis)
เป็นโรคภูมิแพ้ที่พบบ่อยที่สุดในสุนัข
โรคภูมิแพ้อาหาร (Food Allergy)
เป็นโรคภูมิแพ้ที่สุนัขได้รับสารก่อให้เกิดการแพ้จากอาหารที่กินเข้าไปซึ่งเกิดจากแพ้สารอาหารพวกโปรตีนจากเนื้อสัตว์กับคาร์โบไฮเดรต จากบรรดามันสำปะหลัง แป้ง หรือ กากถั่ว และนอกนั้นก็อาจจะแพ้พวกสารถนอมอาหารที่ใส่มาในอาหารสัตว์ วิธีแก้ไขก็ต้องเปลี่ยนอาหาร

โรคภูมิแพ้จากการสูดดม (Atopy)
เป็นโรคภูมิแพ้ที่เกิดจากการสูดดม ไรฝุ่น,ฝุ่นละออง,ละอองเกสรดอกไม้ฯลฯ

โรคแพ้สัมผัส (Contact Dermatitis )
เป็นโรคภูมิแพ้ที่เกิดจากการสัมผัส ซึ่งพบบ่อยในการแพ้แชมพูที่อาบ โดยเฉพาะการใช้แชมพูของคน สบู่กรด น้ำยาล้างจาน หรือผงวักฟอกมาอาบให้สุนัข ซึ่งอาการที่พบก็คือผิวหนังสุนัขจะแดงทันทีหลังอาบน้ำ และมีอาการคันตามมา ซึ่งอาจจะต้องเปลี่ยนมาใช้แชมพูยารักษาโรคผิวหนังมาใช้สำหรับสุนัขกลุ่มนี้

ส่วนการรักษาอาการคันและโรคภูมิแพ้
การให้ยาแก้คันจำพวกยาแก้แพ้ หรือสเตียรอยด์นั้น จะช่วยควบคุมอาการคันให้ลดลงได้ แต่ถ้าหากสาเหตุหลักไม่ได้ถูกแก้ไข สุนัขก็ยังคันไม่หาย เมื่อฤทธิ์ยาหมดก็จะกลับมาคันอีก ดังนั้น เราจึงต้องแก้ไขต้นเหตุทั้ง 2 กลุ่มควบคู่ไปด้วย ถึงจะหายขาด

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

โรคของสุนัขแรกเกิดถึง 4 เดือนที่ต้องเฝ้าระวัง

เรื่องควรรู้หากเราได้ลูกสุนัขมาใหม่อายุแรกเกิดถึง4เดือน เราอาจต้องระวังโรคภัยต่างๆที่จะเกิดกับน้องหมาของเราในระยะนี้ ซึ่งได้นำมาให้ได้ศึกษากันครับ

โรคและอาการป่วยของลูกสุนัขในระหว่างแรกเกิดถึงอายุ 4 เดือนที่พบบ่อย สามารถแบ่งได้ ดังนี้

1. โรคที่เกิดจากการติดเชื้อ (Infectious diseases)
2. โรคที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ (Non-infectious disease)
1. โรคที่เกิดจากการติดเชื้อ (Infectious disease)



1.1 โรคไข้หัดสุนัข (Canine Distemper)
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส อาการรุนแรงมากในลูกสุนัขแรกเกิด แต่ก็สามารถพบโรคได้ทุกช่วงอายุ โดยอาการอาจแสดงเพียงการหายใจลำบากและอาการปอดบวม แล้วตายอย่างรวดเร็ว ในลูกสุนัขที่มีอายุมากขึ้น อาจมีอาการไข้ขึ้นสูงและลดต่ำสลับกันไป นอกจากนี้ยังมีอาการท้องเสีย มีน้ำมูกข้น มีขี้ตาแฉะ เริ่มแรกอาจมีอาการไอ ต่อมาเกิดปอดบวม เบื่ออาหาร ซึม และพบตุ่มหนองที่บริเวณหน้าท้อง ระยะต่อมาจะแสดงอาการทางประสาทให้เห็น
การติดต่อ  ทางการหายใจ และโดยการสัมผัสกับสิ่งขับถ่าย เช่น การกินสิ่งที่ติดเชื้อ น้ำมูก น้ำลาย ขี้ตา อุจจาระ และปัสสาวะ
การรักษา  โรคนี้ไม่มีการรักษาโดยตรง แต่ควรป้องกันโดย
1. การเลี้ยงดูที่ถูกสุขลักษณะ และได้รับอาหารที่มีคุณค่า และการระวังการติดต่อจากตัวป่วย
2. ทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรค ตามโปรแกรมที่กำหนดโดยเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฉีดวัคซีนในแม่สุนัขโดยสม่ำเสมอ ซึ่งจะมีผลต่อการถ่ายทอดภูมิคุ้มกันโรคผ่านทางนมน้ำเหลืองได้
3. หากมีอาการที่ผิดปกติเกิดขึ้น ควรปรึกษาสัตวแพทย์

1.2 โรคตับอักเสบติดต่อในสุนัข (Infectious Canine Hepatitis)
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส โรคนี้เป็นได้กับสุนัขทุกอายุ แต่ลูกสุนัขที่เกิดใหม่จะตายได้ทันที โดยไม่แสดงอาการเฉพาะโรคให้เห็น โดยปกติอาการที่เจ้าของจะพบคือ ลูกสุนัขจะออกไปซุกตายซอกตามมุมแล้วร้องครวญครางจนกระทั่งตาย
ในช่วงหย่านมและลูกสุนัขรุ่น(Young adult) มักแสดงอาการแบบรุนแรงมาก เนื่องจากเชื้อไวรัสจะทำลายผนังชั้นในของเส้นโลหิต ทำให้เกิดอาการเลือดออกทั่วไป จนอาจทำให้ถึงภาวะช็อคได้
อาการแรกของการป่วยจะมีไข้สูง เบื่ออาหาร ซึม ต่อมาไข้ลดลงแล้วก็มีไข้อีก นอกจากนี้ยังมีอาการที่เด่นชัดคือ การถ่ายเป็นเลือด (ปริมาณเลือดที่ออกอาจเปลี่ยนแปลงได้) เยื่อเมือกต่างๆซีด มีจุดเลือดออกตามตัว เลือดจะแข็งตัวยาก ในลูกสุนัขจะแสดงอาการปวดท้อง อุจจาระมีเลือดปน น้ำตาไหล เยื่อตาอักเสบและมีตาขุ่น ในช่วงท้ายๆของโรค
การติดต่อ  ส่วนใหญ่ติดต่อทางการกิน น้ำลาย ปัสสาวะ และอุจจาระที่มีเชื้อ
การรักษา  ไม่มีการรักษาโดยเฉพาะ
การป้องกัน
1. ควรจะป้องกันโรคโดยการฉีดวัคซีน
2. การดูแลเอาใจใส่ลูกสุนัข ให้อาหารที่สะอาด

1.3 โรคลำไส้อักเสบ (Canine Viral Enteritis)
โรคลำไส้อักเสบเป็นติดต่อร้ายแรงของสุนัข เกิดจากเชื้อไวรัส โดยมีการระบาดอย่างกว้างขวางเมื่อปีพ.ศ.2521 ลักษณะจำเพาะของโรค คือ มีไข้ และแสดงอาการอาเจียนและท้องร่วงอย่างรุนแรงมาก

ลักษณะอาการ  สุนัขจะแสดงอาการฉับพลัน มีอาการซึม เบื่ออาหาร อุจจาระเหลว แล้วท้องร่วงอย่างรุนแรง อาการท้องร่วงอาจเกิดภายหลังการอาเจียนหรือเกิดพร้อมกัน การถ่ายอุจจาระจะถ่ายพุ่งรุนแรง ลักษณะของอุจจาระเป็นน้ำหรือน้ำปนเลือด อุจจาระมีกลิ่นเหม็นรุนแรง สุนัขจะมีอาการขาดน้ำอย่างรวดเร็ว และอาจตายได้ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
ในลูกสุนัขโดยเฉพาะในลูกสุนัขที่อายุต่ำกว่า 12 สัปดาห์จะทำให้มีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และทำให้ตายได้ทันทีโดยไม่แสดงอาการของลำไส้อักเสบ
การติดต่อ  สามารถติดต่อได้จากการสัมผัส หรือการใกล้ชิดกับอุจจาระของสัตว์ที่ป่วย เพราะในอุจจาระจะมีเชื้อไวรัสปนเปื้อนออกมาได้เป็นจำนวนมาก และเชื้อนี้จะยังมีความคงทนที่จะอยู่ในอุจจาระได้เป็นเวลานาน และสามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมได้นานหลายเดือน
การรักษา :- เจ้าของควรพาสุนัขของท่านไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคลำไส้อักเสบ ตามโปรแกรมวัคซีนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแม่สุนัข ซึ่งมีผลถ่ายทอดภูมิคุ้มกันโรคมาทางน้ำนมเหลืองแรกคลอด และถ้าหากสุนัขตัวใดมีอาการของโรคดังกล่าว ควรที่จะรีบพาไปปรึกษาสัตวแพทย์ เพื่อรักการรักษาที่เหมาะสมโดยเร็วที่สุด ขณะเดียวกันก็ต้องทำการฆ่าเชื้อบริเวณที่สุนัขอยู่ โดยใช้ความร้อนที่สูงกว่า 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 15 นาที หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่เหมาะสม

2. โรคที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ (Non-infectious disease)

2.1 โรคกระดูกอ่อน (Rickets)
เป็นโรคที่เกิดจากการขาดแคลนธาตุแคลเซี่ยมและฟอสฟอรัส หรือมีระดับของแคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส และวิตามินดีที่ไม่สมดุล หรือลดลงจากปกติ อันมีสาเหตุมาจากอาหาร หรือการที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมเอาแร่ธาตุที่ได้รับไปใช้ได้
ลักษณะอาการ  จะมีการบิดโค้งของกระดูก เนื่องจากสารประกอบในกระดูกไม่เกิดการแข็งตัว ความแข็งแรงของกระดูกลดลงบิดโค้งออก โดยเฉพาะกระดูกขาหน้าส่วนปลาย ที่จะโค้งงอออกทางด้านข้างที่บริเวณข้อศอก และบิดเข้าด้านในบริเวณข้อเท้าขาหน้า
การป้องกัน  ลูกสุนัขกำลังเจริญเติบโต มีความต้องการแคลเซี่ยม และฟอสฟอรัสในปริมาณที่สูงกว่าสุนัขโตเต็มที่ถึง 2 เท่า โดยปกติสุนัขที่โตเต็มที่ต้องการแคลเซี่ยม 120 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 ปอนด์/วัน สุนัขโตเต็มที่ต้องการฟอสฟอรัส 100 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 ปอนด์/วัน ร่วมกับการให้วิตามินดีขนาด 5 - 10 I.U./น้ำหนักตัว 1 ปอนด์ เพื่อช่วยให้การดูดซึมและการใช้แคลเซี่ยมดีขึ้น

2.2 Hypertrophic Osteodystrophy
เป็นโรคกระดูกที่พบมากในลูกสุนัขที่กำลังเจริญเติบโต มีอายุระหว่าง 4 - 8 เดือน โดยเฉพาะลูกสุนัขพันธุ์ใหญ่ สุนัขจะมีการบวมที่ส่วนปลายของกระดูก (Distal metaphyses of longbone) คลำดูจะพบว่าอุ่นและเจ็บปวดมาก จนทำให้สุนัขไม่อยากเคลื่อนไหว และพบว่ามีอาการไข้สูงเป็นครั้งคราว กระบวนการของโรคมักเกิดเป็นเวลานานและรุนแรง โรคจะทุเลาลง เมื่อลูกสุนัขโตเต็มที่ แต่ลักษณะความผิดปกติของกระดูกจะยังคงอยู่ต่อไป

2.3 โรคสะโพกลีบ (Hip Dysplasia)
เป็นโรคทางพันธุกรรม ซึ่งเกิดได้ในสุนัขพันธุ์ต่างๆได้แทบทุกพันธุ์ และพบมากในพันธุ์ Labrador retriever , Rottweiler , German shepherd , Boxer โดยเกิดได้ทั้งสองเพศ

ลักษณะอาการ อาการที่ปรากฎในลูกสุนัข หรือสุนัขรุ่นที่เป็นโรคสะโพกลียอย่างอ่อนจะไม่แสดงอาการให้เห็นชัดเจน การเติบโตอย่างรวดเร็ว ความอ้วน และการออกกำลังกายอย่างมากๆ จะทำให้แสดงอาการผิดปกติได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น สุนัขที่เป็นจะเดินลำบาก เดินกระเผลก (Lameness) ข้อแข็งตึง (Stiffness) และมีความเจ็บปวด มักพบในช่วงอายุ 6 - 12 เดือน บางตัวจะแสดงอาการเดินปัดของส่วนท้ายของลำตัว และอาจไม่มีความเจ็บปวดในระยะแรก

การรักษา
1. ห้ามออกกำลังกายมาก
2. ห้ามเดินบนพื้นที่ลื่น
3. ให้ยาลดการอักเสบ และยาลดความเจ็บปวด
4. ให้อาหารทีมีคุณค่า และไม่ทำให้สุนัขอ้วนจนเกินไป
5. ในรายที่เป็นรุนแรงมาก ควรปรึกษาสัตวแพทย์ เพื่อทำการผ่าตัดแก้ไข

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

โรคทางพันธุกรรมที่พบในน้องหมาพันธุ์ต่างๆ รวมไว้ให้ได้ศึกษากันครับ สำหรับใครที่คิดจะเลี้ยงสุนัขก็จะได้ระวังครับ

โรคทางพันธุกรรมที่พบในน้องหมาพันธุ์ต่างๆ ได้รวบรวมไว้ให้ได้ศึกษากันครับ สำหรับใครที่คิดจะเลี้ยงสุนัขก็จะได้ระวังครับ

1. พันธุ์บ๊อกเซอร์ มีปัญหาทางระบบหายใจ และเกี่ยวกับฟัน เนื่องจากจมูกและขากรรไกรสั้น เป็นมะเร็งมากกว่าปกติ

2. พันธุ์เยอรมันเชพเพอด ตัวเล็กเนื่องจากต่อมใต้สมองทำงานไม่ได้ผล เป็นลมบ้าหมู โรคกระดูกสะโพกห่างกันมากกว่าปกติ

3. พันธุ์เกร็ทเดน อายุสั้น โรคกระดูก ข้ออักเสบ กระดูกขาโค้ง

4. พันธุ์คอลลี่ ขนยาวมากในบางชนิด เช่น เช็ทแลนด์ ชีพด๊อก ตาผิดปกติในแบบต่างๆ รวมถึงจอตามีขนาดเล็กลง

5. พันธุ์บาสเซท ฮาวด์ มีปัญหาที่ตา และขอบตา รวมถึงการเป็นต้อหิน เป็นข้ออักเสบ เนื่องจากขาโก่งและเท้าบิดหลังได้รับอันตรายได้ง่าย โรคข้อกระดูกสันหลัง หูมีปัญหาเนื่องจากหูยาวและหูตก

6. พันธุ์ค๊อกเกอร์ สเปเนียล มีขนตาภายในขอบตามากทำให้เจ็บตาบ่อย เป็นโรคหูเรื้องรัง เนื่องจากขนหูยาวและหูตก เป็นลมบ้าหมูมากกว่าพันธุ์อื่น

7. พันธุ์ปั๊ก ตาถลน โรคระบบทางเดินหายใจ และโรคทางฟัน สาเหตุเนื่องจากจมูกสั้น

8. พันธุ์เชา-เชา ปัญหาของขอบตา ซึ่งออกม้วนเข้า หรือม้วนออกก็ได ้

9. พันธุ์ดัชชุนด์ ส่วนของหลังจะได้รับอันตรายได้ง่ายมาก เนื่องจากมีหลังที่ยาวกว่าปกติ กระดูกงอระหว่างกระดูกสันหลังเมื่ออายุมาก และปัญหาเกี่ยวกับข้อกระดูกสันหลัง

10. พันธุ์เทอร์เรีย หัวกระดูกต้นขาหลังตาย เนื่องจากไม่มีเลือดไปเลี้ยง

11. พันธุ์บลูด๊อกอังกฤษ ปัญหาระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากจมูกสั้น ปัญหาเกี่ยวกับฟัน เนื่องจากขากรรไกสั้น ขากรรไกรบนและล่างยื่นออกมา โรคทางผิวหนังเนื่องจากเชื้อแบคทีเรียอยู่ในรอยย่นของผิวหนัง มีปัญหาตอนคลอดลูก

12. พันธุ์ชิวาว่า ตาได้รับอันตรายง่าย เนื่องจากตาถลน ตั้งท้องยากเนื่องจากขนาดเล็ก การเจริญเติบโตไม่เต็มที่ยังคงเหลือให้เห็น เช่น ฟันน้ำนม รูเปิดของกะโหลกศีษระ ศีรษะโตเพราะมีน้ำอยู่ภายในมากกว่าปกติ

13. พันธุ์ปักกิ่ง ลูกตายื่นออกมามากเกินควร ทำให้กระจกตาแห้ง และได้รับอันตรายได้ง่าย โดยทางระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากจมูกสั้น โรคเกี่ยวกับฟัน เนื่องจากขากรรไกรสั้น โรคตาอักเสบ เนื่องจากผิวหนังม้วนแล้วไปเสียดสีกับลูกตา

14. พันธุ์เซ็นท์ เบอร์นาร์ด ขอบตาเปลี่ยนรูป ทำให้ตาเจ็บและเยื่อตาขาวอักเสบ รูปร่างใหญ่เกินขนาด อาจทำให้ชีวิตสั้นลง กระดูกเจริญมากผิดปกติ ข้อกระดูกสะโพกเคลื่อน

15. พันธุ์พูเดิ้ล มีปัญหาด้านข้อสะบ้าเคลื่อน ทำให้เกิดความเจ็บปวดเมื่อเคลื่อนไหว

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

มาดูลักษณะ มาตรฐานของน้องหมาพันธุ์มอลทีส

มาดูลักษณะ มาตรฐานของน้องหมาพันธุ์มอลทีส

ลักษณะทั่วไป : มีขนาดเล็ก ขนยาวทั้งตัว สีขาวนุ่มเหมือนไหม เป็นสุนัขที่มีบุคลิกนุ่มนวล
อ่อนโยนแต่ก็เคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วกระตือรือร้น เหมาะแก่การเลี้ยงไว้เป็นเพื่อน



หัว : หัวยาวพอดีและได้สัดส่วนกับขนาดลำตัว

กะโหลก: บนส่วนยอดค่อนข้างกลมจุดเชื่อมต่อระหว่างหน้าผาก
กับจมูก (stop) เห็นชัดเจนสวยงามดีแต่ไม่ถึงกับหักงอเป็นมุมฉาก

หู : หูพับห้อย ตั้งอยู่ต่ำ ปกคลุมด้วยขนยาวหนาลงมาแนบกับหัว

ตา : ไม่อยู่ห่างกันเกินไป ดวงตากลมและมีสีเข้มมาก ขอบตาสีดำทำให้ดูอ่อนโยนแต่ในขณะเดียวกันก็แสดงความตื่นตัวด้วย

ส่วนปากกับจมูก(muzzle):ยาวพอดีได้รูปเรียวลงสู่ส่วนปลายแต่ไม่ถึงกับแหลมชี้ จมูกสีดำ

ฟัน : ปลายฟันบนกับปลายฟันล่างสบกันพอดี หรือฟันบนครอบฟันล่างได้สนิท

คอ : ยาวพอดีที่จะทำให้สุนัขยกหัวได้สูงและแลดูสง่างาม

ลำตัว : มีขนาดกะทัดรัด ความสูงวัดจากพื้นถึงจุดสูงสุดของไหล่ (withers) ยาวเท่ากับความยาววัดจาก withers

ถึงปลายหางกระดูกไหล่ลาดเอียง ข้อศอกไม่หลวมและอยู่ชิดกับลำตัว แนวหลังตรงซี่โครงกางออกได้รูปสวยหน้าอกลึกพอควร ช่วงเอวตึงแน่นไม่หย่อนยาน แข็งแรง และเว้าสูงขึ้นไปเล็กน้อย

หาง : หางมีขนยาว ม้วนขึ้นมาอยู่บนหลัง ปลายหางเบี่ยงมาด้านข้างของลำตัว

ขา : ขามีกระดูกได้รูปและมีขนปกคลุมสวยงาม ขาหน้าตรง ข้อต่อเท้าไม่หลวมและโค้งงออย่างสวยงาม ขาหลังแข็งแรงเข่ากับข้อศอกขาหลังทำมุมรับกันพอดี

เท้า : เท้าเล็กกลม อุ้งเท้าสีดำ ขนที่เท้าอาจเล็มออกได้เพื่อให้ดูสวยงามขึ้น

ขน : มีขนชั้นเดียว ยาวตรงจน ไม่ฟู นุ่มเหมือนไหม ขนที่ปกคลุมด้านข้างของลำตัวยาวจนเกือบถึงพื้น ที่หัวอาจผูกจุกหรือปล่อยให้ยาวลงมาทิ้งก็ได้ ในการประกวดอาจจะไม่รับพิจารณาถ้าสุนัขมีขนหยิกหรือฟู

สีขน : สีขาวล้วน ที่บริเวณหูอาจมีสีน้ำตาลอ่อน ๆ หรือสีเหลืองได้แต่
ไม่เป็นที่นิยม

น้ำหนัก : นิยมให้สุนัขมีน้ำหนักระหว่าง 4 - 7 ปอนด์ ไม่ควรเกินกว่า 7 ปอนด์

การก้าวย่าง : เคลื่อนไหวอย่างร่าเริง สดใส ไม่ติดขัด เมื่อมองจากด้านข้างจะเห็นว่าเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว
เวลาวิ่งขาหน้าเหยียดตรงและไม่ติดขัดบริเวณไหล่ ข้อศอกยังคงชิดอยู่ ขาหลังเคลื่อนที่
เป็นแนวตรงถ้าขาหลังหุบเข้าหากันทำให้ปลายเท้าชี้กางออกหรือชี้เข้าหากันถือเป็นข้อบกพร่องในการประกวด


อารมณ์ : ถึงแม้จะตัวเล็กแต่ก็กล้าหาญ ซื่อสัตย์และน่ารัก ถือเป็นสุนัขที่สุภาพอ่อนโยนมากในหมู่สุนัขเล็กด้วยกัน
แต่ก็กระตือรือร้น ร่าเริง กระฉับกระเฉงและขี้เล่น


ข้อบกพร่อง :ขนหยิกงอ เท้าบิด

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS